การวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา

Authors

  • ภัณฑิรา ดวงจินดา
  • ศิริเดช สุชีวะ, รองศาสตราจารย์ ดร.

Keywords:

การวิเคราะห์องค์ประกอบ, ตัวชี้วัด, สมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์

Abstract

การวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา  เป็นงานวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์องค์ประกอบและพัฒนาตัวชี้วัดในการวัดสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ 2. ตรวจสอบคุณภาพตัวชี้วัดสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในเขตกรุงเทพ จำนวน 468 คนที่ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และจำนวน 658 คนที่ใช้เพื่อในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ คือ แบบสอบถามสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ ประกอบไปด้วย 3 ตอน คือ ข้อมูลพื้นฐานของครูวิทยาศาสตร์ผู้ตอบแบบสอบถาม แบบทดสอบความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์จำนวน 15 ข้อคำถาม  และแบบวัดสมรรถภาพของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 53 ข้อคำถาม การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for windows ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน คือแบบวัดสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ ประกอบไปด้วย 3 ตอน คือ ข้อมูลพื้นฐานของครูวิทยาศาสตร์ผู้ตอบ แบบวัดความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ จำนวน 10 ข้อคำถาม และแบบวัดสมรรถภาพของครูผู้สอนกลุ่มสาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 35 ข้อ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม Lisrel  version 8.80

ผลการวิจัยพบว่า (1) สมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) สมรรถภาพด้าน
การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน 2) สมรรถภาพด้านการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM) 3) สมรรถภาพด้านการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 4) สมรรถภาพด้านการสื่อสารและการใช้ภาษา และ
5) สมรรถภาพด้านบุคลิกลักษณะความเป็นครู (2) การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาทุกด้านมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่า ไค-สแควร์สัมพัทธ์ของแต่ละโมเดลพบว่ามีค่าน้อยกว่า 2.00 คือมีค่าตั้งแต่ 0.00 – 1.12 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ของแต่ละโมเดลมีค่ามากกว่า 0.95 คือมีค่าอยู่ระหว่าง 0.99 – 1.00 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) ของแต่ละโมเดลมีค่ามากกว่า 0.95 คือมีค่าอยู่ระหว่าง
0.98 – 1.00 ค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนเหลือ (RMR) มีค่าเข้าใกล้ศูนย์ คือมีค่าตั้งแต่ 0.00 – 0.013 และค่าค่าดัชนีรากของกำลังสองเฉลี่ยของเศษเหลือมาตรฐาน (RMSEA) มีค่าน้อยกว่า 0.05 คือมีค่าระหว่าง 0.00-0.013 และเมื่อเปรียบเทียบโมเดลทั้งหมด
พบว่าโมเดลการสื่อสารและการใช้ภาษาสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มากที่สุด (Chi-squre = 0.00, df = 0, Relative Chi-Square = 0.00, GFI = 1.00, AGFI = 1.00, RMR = 0.00,  RMSEA = 0.00)

Author Biography

ภัณฑิรา ดวงจินดา

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา   

คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2019-07-10

How to Cite

ดวงจินดา ภ., & สุชีวะ ศ. (2019). การวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา. An Online Journal of Education, 13(3), 401–412. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/202450