การเปรียบเทียบความเที่ยงของแบบสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ที่มีเกณฑ์ให้คะแนนแบบวิเคราะห์ย่อย ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด

Authors

  • เกศวดี เสาสิน
  • วรรณี แกมเกตุ

Keywords:

ความสามารถในการแก้ปัญหา, กระบวนการแก้ปัญหา, ความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับการรู้เรื่องคณิตศาสตร์, ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อของผลการวัด

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาแบบสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ ที่มีเกณฑ์การให้คะแนนแบบวิเคราะห์ย่อย และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความเที่ยงแบบสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ ที่มีเกณฑ์การให้คะแนนแบบวิเคราะห์ย่อย ที่มีการออกแบบฟาเซตการวัดแบบผู้ตรวจตรวจให้คะแนนเหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ของผู้สอบทุกคน (Three-Facet, p x (i: o) x r Design) และผู้ตรวจตรวจให้คะแนนเฉพาะเหตุการณ์ของผู้สอบทุกคน (Three-Facet, p x (i : o : r) Design) ภายใต้จำนวนเหตุการณ์และจำนวนผู้ตรวจต่างกัน โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด ตัวอย่างวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 จำนวน 105 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือ แบบสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ ที่มีเกณฑ์การให้คะแนนแบบวิเคราะห์ย่อย

          ผลวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) แบบสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น มีจำนวน 4 สถานการณ์และเป็นสถานการณ์ในบริบทชีวิตจริง 4 บริบท ได้แก่ บริบทส่วนตัว บริบทการงานอาชีพ บริบทสังคม และ บริบทวิทยาศาสตร์ ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ ในแต่ละสถานการณ์ประกอบด้วย
4 ข้อคำถาม ข้อคำถามแต่ละสถานการณ์จะวัดขั้นตอนของกระบวนการแก้ปัญหา และมีเกณฑ์การให้คะแนนแบบวิเคราะห์ย่อย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การคิดเชิงคณิตศาสตร์ การใช้แนวคิดเชิงคณิตศาสตร์ และการตีความและประเมินผลลัพธ์ แบบสอบมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในการตรวจให้คะแนนจากผู้ตรวจคนเดียว และผู้ตรวจจำนวน 2 คนสูง 2) แบบสอบที่มีการออกแบบการตรวจให้คะแนนแบบผู้ตรวจตรวจเฉพาะเหตุการณ์ของผู้สอบทุกคน มีค่าความเที่ยงสูงกว่าผู้ตรวจตรวจเหตุการณ์ทุกเหตุการณ์ของผู้สอบทุกคน และควรเลือกใช้สถานการณ์ p x (i: o) x r ที่มีผู้ตรวจ 1, 2, 3 หรือ 4 คน ตรวจให้คะแนนเหตุการณ์ 5 เหตุการณ์ขึ้นไปเพื่อให้ค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงสำหรับการตัดสินใจเชิงสัมพัทธ์ มากกว่า 0.8 และผู้ตรวจ 1, 2, 3 หรือ 4 คน ตรวจให้คะแนนเหตุการณ์ 8 เหตุการณ์ขึ้นไป เพื่อให้ค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงสำหรับการตัดสินใจเชิงสัมบูรณ์มากกว่า 0.8 และสถานการณ์ p x (i: o: r) ที่มีผู้ตรวจ 1 คน ตรวจให้คะแนนเหตุการณ์ 4 เหตุการณ์ขึ้นไป ผู้ตรวจ 2, 3 หรือ 4 คน ตรวจให้คะแนนเหตุการณ์ 3 เหตุการณ์ขึ้นไปเพื่อให้ค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงสำหรับการตัดสินใจเชิงสัมพัทธ์ มากกว่า 0.8 และผู้ตรวจ 1 คน ตรวจให้คะแนนเหตุการณ์ 6 เหตุการณ์ขึ้นไป ผู้ตรวจ 2, 3 หรือ 4 คน ตรวจให้คะแนนเหตุการณ์ 3 เหตุการณ์ขึ้นไปเพื่อให้ค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงสำหรับการตัดสินใจเชิงสัมบูรณ์มากกว่า 0.8

Author Biography

วรรณี แกมเกตุ

อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2019-07-10

How to Cite

เสาสิน เ., & แกมเกตุ ว. (2019). การเปรียบเทียบความเที่ยงของแบบสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ที่มีเกณฑ์ให้คะแนนแบบวิเคราะห์ย่อย ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด. An Online Journal of Education, 13(3), 423–438. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/202452