ผลของการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้โปรแกรมการออกกาลังกายด้วยยางยืดที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

Authors

  • ธาตรี ดีประดวง นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สมบูรณ์ อินทร์ถมยา อาจารย์ประจาสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

กิจกรรมการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้โปรแกรมการออกกาลังกายด้วยยางยืด, สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, EXERCISING PROGRAM BY USING ELASTIC BAND, HEALTH-RELATED PHYSICAL FITNESS, LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้โปรแกรมการออกกาลังกายด้วยยางยืดที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนสุรวิทยาคาร จังหวัดสุรินทร์ สังกัดสานักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 จังหวัดสุรินทร์ อายุระหว่าง 13-15 ปี จานวน 40 คน โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน วัดสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม ก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโครงการเป็นเวลา 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆ ละ 60 นาที แล้วนาผลที่ได้มาทาการวิเคราะห์สถิติโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า “ที” (t-test) ที่ระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลจากการศึกษาพบว่า 1) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ: กิจกรรมการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้โปรแกรมการออกกาลังกายด้วยยางยืด / สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ / นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

 

Abstract

The purposes of this research were to study and to compare the effects of physical education learning management using an exercising program by using an elastic band on the health-related physical fitness of lower secondary school students. The subjects in the study were a group of 40 students aged between 13-15 years old. The students were divided equally into two a control group and an experimental group. The health-related physical fitness of all of the students were measured both before and after the experiment. The experimental group exercised for 60 minutes a day, 3 days a week for a period of 8 weeks. The obtained data were then statistically analyzed in terms of the mean, standard deviation, and a t-test to determine the significance of the differences at a .05 level.

The results of the research were as follows: 1) After the experiment the total indicators of the health-related physical fitness in the experimental group were significantly higher than before the experiment at a .05 level. 2) After the experiment the indicators of the health-related physical fitness in the experimental group were at a significantly higher level than the control group at a .05 level.

KEYWORDS: EXERCISING PROGRAM BY USING ELASTIC BAND / HEALTH-RELATED PHYSICAL FITNESS / LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS

Downloads

How to Cite

ดีประดวง ธ., & อินทร์ถมยา ส. (2014). ผลของการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้โปรแกรมการออกกาลังกายด้วยยางยืดที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. An Online Journal of Education, 9(2), 60–72. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/20311