ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะการเสิร์ฟเซปักตะกร้อร่วมกับการฝึกการทรงตัว ความอ่อนตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่มีต่อทักษะการเสิร์ฟเซปักตะกร้อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

Authors

  • ศราวุฒิ โภคา นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สุธนะ ติงศภัทิย์ อาจารย์ประจาสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

โปรแกรมการฝึก, ทักษะการเสิร์ฟเซปักตะกร้อ, การทรงตัว, ความอ่อนตัว, ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ, TRAINING PROGRAM, SEPAK TAKRAW SERVING SKILL, BALANCE, FLEXIBILITY, MUSCULAR STRENGTH

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการฝึกทักษะการเสิร์ฟเซปักตะกร้อร่วมกับการฝึกการทรงตัว ความอ่อนตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่มีต่อทักษะการเสิร์ฟเซปักตะกร้อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ผ่านการเรียนวิชาเซปักตะกร้อมาแล้ว จำนวน 30 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ นักเรียนกลุ่มทดลอง 15 คน ได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะการเสิร์ฟเซปักตะกร้อร่วมกับการฝึก การทรงตัว ความอ่อนตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่มีต่อทักษะการเสิร์ฟเซปักตะกร้อ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 75 นาที และนักเรียนกลุ่มควบคุม จานวน 15 คนที่ได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะการเสิร์ฟ เซปักตะกร้อตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการฝึกทักษะการเสิร์ฟเซปักตะกร้อร่วมกับการฝึกการทรงตัว ความอ่อนตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่มีต่อทักษะการเสิร์ฟเซปักตะกร้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมการฝึกทักษะการเสิร์ฟเซปักตะกร้อร่วมกับการฝึกการทรงตัว ความอ่อนตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ สามารถทำให้ทักษะการเสิร์ฟเซปักตะกร้อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นดีขึ้น 2) ค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบทักษะการเสิร์ฟเซปักตะกร้อหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมสูงกว่าก่อน การทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบทักษะการเสิร์ฟเซปักตะกร้อหลัง การทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ: โปรแกรมการฝึก/ทักษะการเสิร์ฟเซปักตะกร้อ/การทรงตัว/ความอ่อนตัว/ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

 

Abstract

The purpose of this research were to study and to compare the effects of a sepak takraw serving skill training program with balance, flexibility and muscular strength training on sepak takraw serving skills of the lower secondary school students. The sample were 30 students. Which were taken a sepak takraw course. There were divided into 2 groups with 15 students in each group. The experimental group was trained with sepak takraw serving skill training program with balance, flexibility and muscular strength training for 8 weeks, 3 times per week, 75 minutes per day, and the students in the control group was trained with conventional training program. The research instruments were composed of the sepak takraw serving skill training program with balance, flexibility and muscular strength training on sepak takraw serving skills had an IOC 1.00. The data were analyzed in terms means, standard deviations and t-test by using statistically significant differences at .05 level.

The research were as follows : 1) A sepak takraw serving skill training program with balance, flexibility and muscular strength training were developed sepak takraw serving skills of the lower secondary school students. 2) The mean scores of sepak takraw serving skill test of the experimental group students and the control group after implementation were significantly higher than before implementation at .05 level. 3) The mean scores of sepak takraw serving skill test of the experimental group after implementation were significantly higher than the control group at .05 level.

KEYWORDS: TRAINING PROGRAM/SEPAK TAKRAW SERVING SKILL/BALANCE/FLEXIBILITY/ MUSCULAR STRENGTH

Downloads

How to Cite

โภคา ศ., & ติงศภัทิย์ ส. (2014). ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะการเสิร์ฟเซปักตะกร้อร่วมกับการฝึกการทรงตัว ความอ่อนตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่มีต่อทักษะการเสิร์ฟเซปักตะกร้อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. An Online Journal of Education, 9(2), 117–131. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/20316