การนาเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะคีตปฏิภาณดนตรีแจ๊สใน คีตลักษณ์บลูส์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต
Keywords:
การจัดการเรียนการสอนดนตรี, คีตปฏิภาณดนตรีแจ๊ส, คีตลักษณ์บลูส์, ระดับปริญญาบัณฑิต, MUSIC INSTRUCTION, JAZZ IMPROVISATION, BLUES FORM, UNDERGRADUATEAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะคีตปฏิภาณดนตรีแจ๊สในคีตลักษณ์บลูส์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต 2) นาเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนดนตรีเพื่อพัฒนาทักษะคีตปฏิภาณดนตรีแจ๊สในคีตลักษณ์บลูส์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ประมวลรายวิชา ตารา และเอกสารประกอบการสอน 2) ชั้นเรียนปฏิบัติเครื่องเอกแจ๊ส 3) อาจารย์ผู้สอนดนตรีแจ๊ส 3 คน 4) ศิลปินด้านดนตรีแจ๊ส 3 คน 5) บัณฑิตจากสาขาวิชาดนตรีแจ๊ส 3 คน และ 6) นักศึกษาจากสาขาวิชาดนตรีแจ๊ส 3 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ 1) แบบบันทึกการวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบบันทึกการสังเกตชั้นเรียน และ 3) แบบสัมภาษณ์สภาพและแนวทางการจัดการเรียนการสอน วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยการจาแนกประเภท เปรียบเทียบข้อมูล และสร้างข้อสรุปเชิงอุปนัย
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการสอนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการสร้างและเชื่อมโยงฐานความรู้ในตัวผู้เรียนเพื่อเป็นพื้นฐานในการประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ 2) แนวทางการจัดการเรียนการสอนควรครอบคลุมด้านการพัฒนาและเพิ่มพูนฐานความรู้ การเชื่อมโยงระหว่างฐานความรู้ในตัวผู้เรียน การกระตุ้นให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ฐานความรู้ในการสร้างสรรค์คีตปฏิภาณ และการพัฒนาต่อยอดความรู้ด้วยตนเอง
คำสำคัญ: การจัดการเรียนการสอนดนตรี / คีตปฏิภาณดนตรีแจ๊ส / คีตลักษณ์บลูส์ / ระดับปริญญาบัณฑิต
Abstract
The purposes of this research were 1) to study authentic teaching environments for jazz improvisation skills in the blues form for undergraduate students and 2) to propose guidelines for organizing effective music instruction to develop jazz improvisation skills in the blues form for undergraduate students. The research consisted of1) a course syllabus, textbooks and supplementary handouts, 2) jazz major instrumental classes, 3) 3 jazz teachers 4) 3 jazz artists, 5) 3 graduates in jazz studies and 6) 3 students in jazz studies. The research tools were 1) data analysis forms, 2) class observation forms and 3) interview forms on the state of and guidelines for instruction. Data analysis methods were content analysis by classification, comparison and inductive conclusion.
The results revealed that 1) in authentic teaching environments, attention was focused on constructing and connecting parts of knowledge bases in order to establish a foundation for creativity, and 2) instructional guidelines should aim to developi and increase the foundation of knowledge, connecting students’ knowledge, the application of knowledge on improvisation, and the students abilities to develop themselves.
KEYWORDS: MUSIC INSTRUCTION / JAZZ IMPROVISATION / BLUES FORM / UNDERGRADUATE