การเปรียบเทียบผลที่ได้จากการทวนคาตอบในข้อสอบแบบหลายตัวเลือกที่มีการเรียงลาดับข้อสอบระยะเวลาในการสอบ และระดับความสามารถของผู้สอบที่แตกต่างกัน
Keywords:
การทวนคำตอบ, ข้อสอบแบบหลายตัวเลือก, การเรียงลำดับข้อสอบ, ระยะเวลาในการสอบ, ระดับความสามารถของผู้สอบ, REVIEWING ANSWERS, MULTIPLE-CHOICE ITEMS, TEST ITEM ORDER, RESPONSE TIME, EXAMINEES’ ABILITY LEVELSAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลที่ได้จากการทวนคำตอบกับระดับความยากของข้อสอบและระหว่างผลที่ได้จากการทวนคำตอบกับระดับความสามารถของผู้สอบ 2) เปรียบเทียบผลที่ได้จากการทวนคำตอบที่มีการเรียงลำดับข้อสอบ ระยะเวลาในการสอบ และระดับความสามารถของผู้สอบที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จากโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำนวน 5 โรงเรียน คิดเป็นนักเรียน 338 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างผลที่ได้จากการทวนคำตอบกับระดับความยากของข้อสอบมีค่า -.987 - .344 2) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างผลที่ได้จากการทวนคำตอบกับระดับความสามารถของผู้สอบมีค่า -.939 - .424 3) ค่าเฉลี่ยจานวนข้อที่ทวนคำตอบแล้วยังคงคำตอบถูกไว้ (RR) ต่างกันในระยะเวลาสอบที่ต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และต่างกันในแต่ละระดับความสามารถของผู้สอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 4) ค่าเฉลี่ยจำนวนข้อที่ทวนคำตอบแล้วยังคงคำตอบผิดไว้ (WW) ต่างกันในระยะเวลาสอบที่ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และต่างกันในแต่ละระดับความสามารถของผู้สอบที่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 5) ค่าเฉลี่ยของจำนวนข้อที่ทวนคำตอบแล้วมีการเปลี่ยนคำตอบจากถูกเป็นผิด (R*W) ต่างกัน เมื่อระยะเวลาในการสอบ และระดับความสามารถของผู้สอบแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6) ค่าเฉลี่ยของจานวนข้อที่ทวนคำตอบแล้วเปลี่ยนจากผิดเป็นถูก (W*R) ต่างกัน เมื่อระยะเวลาในการสอบ และระดับความสามารถของผู้สอบต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 7) ค่าเฉลี่ยของจำนวนข้อที่ทวนคำตอบแล้วเปลี่ยนจากผิดเป็นผิด (WW) ไม่แตกต่างกันเมื่อ มีการเรียงลำดับข้อสอบ ระยะเวลาในการสอบและระดับความสามารถของผู้สอบที่แตกต่างกัน
คำสำคัญ : การทวนคำตอบ / ข้อสอบแบบหลายตัวเลือก / การเรียงลำดับข้อสอบ /ระยะเวลาในการสอบ / ระดับความสามารถของผู้สอบ
Abstract
The purposes of this research were 1) to study the correlation between the consequences of reviewing answers and item difficulty and the correlation between consequences of reviewing answers and examinees ’ability levels, and 2) to compare the consequences of reviewing answers in multiple-choice items among different test item order, response time and examinees’ ability levels. The participants were 338 tenth grade students in Bangkok. The research findings were as follows: 1) There was a correlation (-.987 - .344 ) between consequences of reviewing answers and item difficulty; 2) there was a correlation (-.939 - .424 ) between consequences of reviewing answers and examinees ’ability levels; 3) there were significant consequences of reviewing answers (RR) under different response time and under different examinees’ ability levels at .05 level; 4) there were significant consequences from reviewing answers (WW) under different response time and under different examinees’ ability levels at .05 level; 5) there were significant consequences from reviewing answers (R*W) among different response time and examinees’ ability levels at .05 level; 6) there were significant consequences from reviewing answers (W*R) among different response time and examinees’ ability levels at .05 level; and 7) there were no significant consequences from reviewing answers (W*W) among different response time and examinees’ ability levels at .05 level on.
KEYWORDS : REVIEWING ANSWERS / MULTIPLE-CHOICE ITEMS / TEST ITEM ORDER / RESPONSE TIME / EXAMINEES’ ABILITY LEVELS