ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู โดยมีความยึดมั่นผูกพันในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน

Authors

  • วรัญญา แดงสนิท นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ อาจารย์ประจาสาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก, ความยึดมั่นผูกพันในงาน, ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน, POSITIVE PSYCHOLOGICAL CAPITAL, WORK ENGAGEMENT, JOB SATISFACTION

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ระดับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก ความยึดมั่นผูกพันในงานและความ พึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู 2) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโดยมีความยึดมั่นผูกพันในงานเป็นตัวแปรส่งผ่านกับข้อมูล เชิงประจักษ์ 3) วิเคราะห์ลักษณะการส่งผ่านของตัวแปรความยึดมั่นผูกพันในการทางาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือครู ที่สอนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครจานวน 534 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะและการปฏิบัติงานของครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบ เพียร์สัน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีระดับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก ความยึดมั่นผูกพันในงาน และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก โดยมี \bar{x}=4.01, 4.05 และ 3.95 ตามลาดับ 2) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโดยมีความยึดมั่นผูกพันในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 26 องศาอิสระเท่ากับ 34 ความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.84 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน เท่ากับ 0.99 3) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโดยมีความยึดมั่นผูกพันในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน ประกอบด้วย ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานได้รับอิทธิพลทางตรงจากทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกและความยึดมั่นผูกพันในงาน ส่วนความยึดมั่นผูกพัน ในงานได้รับอิทธิพลทางตรงจากทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก และความยึดมั่นผูกพันในงานเป็นตัวแปรส่งผ่านที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ: ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก/ความยึดมั่นผูกพันในงาน/ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน

 

Abstract

The purposes of this research were as follows 1) to analyze the positive psychological capital work engagement and job satisfaction of teacherS, 2) to develop and examine the goodness of fit of a causal relationship between positive psychological capital and job satisfaction with work engagement as a mediator with empirical data, and 3) to analyze mediator effect of work engagement. The research sample consisted of 534 primary school and secondary school teachers in Bangkok. The survey questionnaires about the character and the performance of teachers were used for collecting the research data. The analytical methods of this research consisted of descriptive statistics, Pearson correlations and confirm factor analysis.

The research findings were as follows: 1) Teachers had a high level of positive psychological capital work engagement and job satisfaction with an average score of 4.01, 4.05 and 3.95 respectively. 2) A causal relationship between positive psychological capital and job satisfaction with work engagement as mediator was fitted with the empirical data indicating by Chi-square=26, df=34, p-value=0.836 and GFI=0.992. 3) A causal relationship between positive psychological capital and job satisfaction with work engagement as mediator, i.e. job satisfaction, had been directly affected by positive psychological capital and work engagement. Work engagement had been directly affected by positive psychological capital, and work engagement had been significant as a mediated variable by job satisfaction. (p<.01)

KEYWORDS: POSITIVE PSYCHOLOGICAL CAPITAL/WORK ENGAGEMENT/JOB SATISFACTION

Downloads

How to Cite

แดงสนิท ว., & ไตรวิจิตรคุณ ด. (2014). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู โดยมีความยึดมั่นผูกพันในงานเป็นตัวแปรส่งผ่าน. An Online Journal of Education, 9(2), 295–307. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/20360