ผลของการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียนที่มีต่อพฤติกรรมของครูและนักเรียน : การวิจัยแบบผสมวิธี

Authors

  • สรวีย์ ศิริพิลา นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วรรณี แกมเกตุ อาจารย์ประจาสาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ผลของการใช้แท็บเล็ต, พฤติกรรมของครู, พฤติกรรมของนักเรียน, การวิจัยแบบผสมวิธี, THE RESULTS OF USING TABLET PC, BEHAVIORS OF TEACHERS, BEHAVIORS OF STUDENTS, MIXED-METHODS RESEARCH

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลของการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียนที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของครูและนักเรียน จาแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ดาเนินการวิจัยโดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธี ดังนี้ 1) การศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ครู จำนวน 12 คน และการสนทนากลุ่ม 2 กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้โปรแกรม MAXQDA 2) การศึกษาเชิงปริมาณ ตัวอย่างวิจัยคือ ครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 396 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และใช้สถิติอนุมานในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเลขคณิต โดยใช้การทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA)

ผลการวิจัยที่สาคัญสรุปได้ดังนี้ 1. การใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียน ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานของครู ในด้านความรู้สึกที่มีต่อการเตรียมการสอน ความรู้สึกที่มีต่อการแสวงหาความรู้ การจัดการเรียนการสอน และการประเมินผู้เรียนของครู ให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น และครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสังคมศึกษา มีค่าเฉลี่ยของเจตคติทางบวกต่อการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียน และการจัดการเรียนการสอนที่ดี มากกว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์-ภาษาไทย ครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่ดี มากกว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. การใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียนส่งผลให้นักเรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีแรงจูงใจในการเรียนอยู่ในระดับมาก และนักเรียนมีทักษะการอ่าน ทักษะการเขียน และทักษะการคิดคำนวณตามการรับรู้ของครูอยู่ในระดับปานกลาง โดยครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์-ภาษาไทย มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นเกี่ยวกับทักษะการคิดคำนวณของนักเรียน สูงกว่าความคิดเห็นของครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ: ผลของการใช้แท็บเล็ต/พฤติกรรมของครู/พฤติกรรมของนักเรียน/การวิจัยแบบผสมวิธี

 

Abstract

The purposes of this research were to analyze and compare results of using PC tablets in classrooms on the behaviors of teachers and students for different subjects using a mixed-method research method. First, qualitative research data were collected through in-depth interviews with 12 teachers, and focus groups of two groups by using an interview form. Data were analyzed using the program MAXQDA. Second, quantitative research was conduced with a sample of 396 teachers. Survey questionnaires were used to collect data and then it was analyzed by using descriptive and comparative mean by inferential statistics (t-test and one-way ANOVA).

The research findings were as follows: 1) Using PC tablets in the classroom improved teachers’ performance in the areas of classroom preparation, learning, teaching, and student evaluation. Science and social studies teachers had higher levels of satisfaction with using tablets than mathematics or Thai language teachers. Social studies teachers had good higher successful practices than English teachers at a statistical significance at the .05 level. 2) Using PC tablets in the classroom effected students participation and students were motivated at a high level. Students had reading, writing and numeracy skills as desired by teachers at a medium level. Mathematics and Thai teachers had higher levels of satisfaction with students’ numerical skills than social studies, science or English teachers at a statistical significance at the .05 level.

KEYWORDS: THE RESULTS OF USING TABLET PC/BEHAVIORS OF TEACHERS/BEHAVIORS OF STUDENTS/MIXED-METHODS RESEARCH

Downloads

How to Cite

ศิริพิลา ส., & แกมเกตุ ว. (2014). ผลของการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียนที่มีต่อพฤติกรรมของครูและนักเรียน : การวิจัยแบบผสมวิธี. An Online Journal of Education, 9(2), 308–322. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/20364