ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างคุณภาพของกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพกับความยึดมั่นผูกพันในการทางานของนิสิตครูโดยมีความเชื่อในความสามารถของตนเป็นตัวแปรส่งผ่าน

Authors

  • หทัยทิพย์ สีส่วน นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อวยพร เรืองตระกูล อาจารย์ประจาสาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

คุณภาพของกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ, ความยึดมั่นผูกพันในการทางานของนิสิตครู, ตัวแปรส่งผ่าน, QUALITY OF PROFESSIONAL TEACHING PRACTICES, WORK ENGAGEMENT OF PRE-SERVICE TEACHERS, MEDIATOR VARIABLE

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างคุณภาพของกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพกับความยึดมั่นผูกพันในการทางานของนิสิตครูที่มีความเชื่อในความสามารถของตนเป็นตัวแปรส่งผ่าน 2) วิเคราะห์ลักษณะการส่งผ่านของตัวแปรความเชื่อในความสามารถของตน ตัวอย่างวิจัย คือ นิสิตครูที่ออกฝึกประสบการวิชาชีพของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ จานวน 564 คน การคัดเลือกตัวอย่างโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน (two - stage sampling) ตัวแปรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ คุณภาพของกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ความยึดมั่นผูกพันในการทางานของนิสิตครู และมีความเชื่อในความสามารถของตนเป็นตัวแปรส่งผ่าน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างคุณภาพของกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพกับความยึดมั่นผูกพันในการทางานของนิสิตครูที่มีความเชื่อในความสามารถของตนเป็นตัวแปรส่งผ่าน พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีค่าChi-square เท่ากับ 18.055 องศาอิสระ (df) เท่ากับ 17 ความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ 0.385 และค่าดัชนีรากกาลังสองเฉลี่ยของส่วนที่เหลือ (RMR) มีค่าเท่ากับ 0.007 โดยตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความยึดมั่นผูกพันในการทางานของนิสิตครูได้ร้อยละ 59 2) ความเชื่อในความสามารถของตนมีบทบาทส่งผ่านแบบบางส่วนจากคุณภาพของกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพไปยังความยึดมั่นผูกพันในการทางานของนิสิตครู ซึ่งหมายถึงคุณภาพของกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพมีอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมต่อความยึดมั่นผูกพันในการทางานของนิสิตครู โดยผ่านตัวแปรความเชื่อในความสามารถของตน

คำสำคัญ : คุณภาพของกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ/ความยึดมั่นผูกพันในการทางานของนิสิตครู/ ตัวแปรส่งผ่าน

 

Abstract

The purposes of this research were as follows 1) to develop a causal relationship between the quality of professional teaching practices and work engagement of pre-service teachers with self-efficacy as mediator, and 2) to analyze the mediating role of self-efficacy in the model of pre-service teachers’ work engagement. Research samples consisted of 564 pre-service teachers. The studied variables included quality of professional teaching, work engagement of pre-service teachers, and self-efficacy. Survey questionnaires were used for data collection. The data were analysed by descriptive statistics, Pearson’s correlation and a LISREL model analysis.

The research findings were as follows: 1) The causal relationship model between the quality of professional teaching practices and work engagement of pre-service teachers with self-efficacy as mediator fit with the empirical data (X2 = 18.055, df = 17, p = 0.385 RMSEA = 0.007). All variables in the model variation of pre-service teachers’ work engagement accounted for 59 % of the variation in pre-service teachers’ work engagement. 2) Self-efficacy partially mediated the effects of professional teaching quality on work engagement of pre-service teachers.

KEYWORDS: QUALITY OF PROFESSIONAL TEACHING PRACTICES/ WORK ENGAGEMENT OF PRE-SERVICE TEACHERS/ MEDIATOR VARIABLE

Downloads

How to Cite

สีส่วน ห., & เรืองตระกูล อ. (2014). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างคุณภาพของกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพกับความยึดมั่นผูกพันในการทางานของนิสิตครูโดยมีความเชื่อในความสามารถของตนเป็นตัวแปรส่งผ่าน. An Online Journal of Education, 9(2), 323–337. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/20367