การนาเสนอแนวทางการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนจากการวิเคราะห์แนวปฏิบัติดี

Authors

  • ณพัฐอร เฮงสมบูรณ์ นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง อาจารย์ประจาสาขาวิชาวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน, สถานศึกษาที่ปฏิบัติดี, แนวทางการประเมิน, DESIRED CHARACTERISTICS OF LEARNERS, GOOD PRACTICE SCHOOL, ASSESSMENT GUIDELINE

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพและปัญหาของการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน 2) วิเคราะห์แนวทางการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนที่ดี 3) นำเสนอแนวทางการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนสอดคล้องกับการประเมินตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็น 1) ครูจำนวน 1,240 คน 2) สถานศึกษาที่ปฏิบัติดี จำนวน 6 แห่ง 3) นักวิชาการจากกระทรวง จำนวน 10 คนและครูในสถานศึกษาที่ปฏิบัติดี จำนวน 10 คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีการประเมินคล้ายกับแนวการวัดและประเมินผลการเรียนของกระทรวง แต่ในด้านสภาพปัญหา/อุปสรรค พบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์และตัวชี้วัดมีลักษณะเป็นนามธรรม ยากต่อการวัด วิธีการวัดยังคงใช้การวัดแบบเดิมเหมือนกับการวัดจิตพิสัย สาหรับเครื่องมือขาดความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ และการตัดสินผลการประเมินไม่ตรงกับความเป็นจริง 2) สถานศึกษาที่ปฏิบัติดีปฏิบัติได้สอดคล้องกันตามแนวการวัดและประเมินผลการเรียนของกระทรวง 3) แนวทางการประเมินต้องมีการกาหนดหน้าที่ให้ชัดเจน มีการประเมินอย่างเป็นระบบขั้นตอน สาหรับวิธีการวัด/ประเมินมีการแบ่งการประเมินเป็นสองส่วนโดยประเมินจากการบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้และประเมินจากการจัดกิจกรรมของสถานศึกษา และเครื่องมือประเมินใช้แบบสังเกตร่วมกับใบรายชื่อนักเรียนรวมทั้งผลงานที่นักเรียนทาโดยระยะเวลาในการประเมินจะประเมินเป็นรายคาบเพื่อดูความก้าวหน้าของผู้เรียน

คำสำคัญ : คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน/สถานศึกษาที่ปฏิบัติดี/แนวทางการประเมิน

 

Abstract

The purposes of this research were 1) to analyze the state and problem of assessing the desired characteristics of learners ; and 2) to analyze desired characteristics assessment of learner in good practice schools ; and 3) to purpose guideline to assess the desired characteristics of learners congruence with the assessment of the basic education commission. Sample were 1) 1,240 teachers 2) 6 good practice schools. 3) 10 scholars and 10 teachers.

The results of the study found that 1) the most schools assess similar with guideline of the basic education commission but the problems were found; desired characteristics and indicators were abstract and difficult to measure, the traditional method was used to measure affective domain lack of feasibility to practice, the grad results were not valid 2) 6 good practice schools; the instruments were assessed congruence with guideline of the basic education commission ; and 3) Guideline for assessment, Schools should be establishes a committee to develop and evaluate, clearly defined functions. Assessment is a systematic, teachers should study the manual that defines of the basic education commission. School should do a school manual and workshops/seminars about measurement and evaluation. Assessment methods should be separately planed to assign assessment learning strands and activities of schools, Besides schools should identify the assessor clearly. Instruments should be observation and assessment time should be during lessons.

KEYWORDS : DESIRED CHARACTERISTICS OF LEARNERS/GOOD PRACTICE SCHOOL/ ASSESSMENT GUIDELINE

Downloads

How to Cite

เฮงสมบูรณ์ ณ., & หลาวทอง ณ. (2014). การนาเสนอแนวทางการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนจากการวิเคราะห์แนวปฏิบัติดี. An Online Journal of Education, 9(2), 338–352. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/20369