การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการคิดตามสารบบจาแนกของบลูมฉบับปรับปรุงที่มีต่อผลงานสร้างสรรค์ ทางศิลปะของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6
Keywords:
สารบบจำแนกของบลูมฉบับปรับปรุง, ผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปะTHE REVISED BLOOM’S TAXONOMY, CREATIVE ART PRODUCTSAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมส่งเสริมการคิดตามสารบบจำแนกของบลูมฉบับปรับปรุง 2) ศึกษาผลของการฝึกใช้โปรแกรมส่งเสริมการคิดตามสารบบจาแนกของบลูมฉบับปรับปรุงที่มีต่อผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปะของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสุโขทัยที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2556 จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกใช้โปรแกรมส่งเสริมการคิด สารบบจาแนกของบลูมฉบับปรับปรุงจำนวน 30 คนและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการเรียนการสอนแบบปกติจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบประเมินผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปะ โปรแกรมส่งเสริมการคิดตามสารบบจำแนกของบลูมฉบับปรับปรุงวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบค่าทีและวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้เรียนกลุ่มทดลองที่รับการฝึกใช้โปรแกรมส่งเสริมการคิดตามสารบบจำแนกของบลูมฉบับปรับปรุงมีค่าเฉลี่ยคะแนนผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปะหลังได้รับการฝึกและในระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนได้รับการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติติที่ระดับ .05 2) ผู้เรียนกลุ่มทดลองที่รับการฝึกใช้โปรแกรมส่งเสริมการคิดตามสารบบจำแนกของบลูมฉบับปรับปรุงจะมีค่าเฉลี่ยคะแนนผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปะหลังได้รับการฝึกและในระยะติดตามผลสูงกว่าผู้เรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติติที่ระดับ .05
คำสำคัญ: สารบบจำแนกของบลูมฉบับปรับปรุง/ผลงานสร้างสรรค์ทางศิลปะ
Abstract
The purposes of this research were: 1) to develop a program for thinking enhancing based on the Revised Bloom’s Taxonomy on creative art products of sixth grade students and 2) to study the effects of using a developed program throughcreative art products for sixth grade students. The participants were comprised of 60 sixth grade students from AnubanSukhothai School who were enrolled in the 2013 academic year. The participants were allocated into two groups of 30 students each: an experimental group, which received the program for thinking enhancing based on the revised bloom’s taxonomy on creative art products and a control group, which did not receive it. The research instruments included creative art product evaluation, derived from an enhancement program based on the revised bloom’s taxonomy. Data analysis was conducted by using means, standard deviation, t-test, and repeated measures ANOVA.
The research findings were as follows: 1) creative art products post-test and follow up scores of the experimental group were significantly higher than their pre-test scores at a .05 level of significance and 2)creative art products post-test and follow up scores of the experimental group were significantly higher than the control group at a .05 level of significance.
KEYWORDS: THE REVISED BLOOM’S TAXONOMY/CREATIVE ART PRODUCTS