การนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนดนตรีเพื่อพัฒนาเทคนิคการปฏิบัติโน้ตประดับ สำหรับนักเรียนเปียโนระดับชั้นกลาง

Authors

  • สกุณา ประมายะยัง นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาดนตรีศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ณัฐวุฒิ บริบูรณ์วิรีย์ อาจารย์ประจาสาขาวิชาดนตรีศึกษา ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การจัดการเรียนการสอนดนตรี, เทคนิคการปฏิบัติโน้ตประดับ, นักเรียนเปียโนระดับชั้นกลาง, ORGANIZING MUSIC INSTRUCTION, ORNAMENTATION TECHNIQUES, INTERMEDIATE PIANO STUDENTS

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอนเทคนิคการปฏิบัติโน้ตประดับในบทประพันธ์สำหรับนักเรียนเปียโนระดับชั้นกลาง 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเทคนิคการปฏิบัติโน้ตประดับสำหรับนักเรียนเปียโนระดับชั้นกลาง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน 2) ผู้สอน 10 ท่าน 3) หนังสือสอบวัดมาตรฐานการปฏิบัติทักษะเปียโนระดับเกรด 4 และ เกรด 5 สถาบัน Trinity Collet London และ 4) ชั้นเรียนการสอบวัดมาตรฐานการปฏิบัติทักษะโน้ตประดับระดับเกรด 4 และ เกรด 5 จานวน 5 แห่ง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกการวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตชั้นเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและใช้สถิติบรรยาย

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการจัดการเรียนการสอนส่วนใหญ่ผู้สอนสอดแทรกเนื้อหาการปฏิบัติโน้ตประดับในการบรรเลงบทประพันธ์ ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติซึ่งเป็นเนื้อหาในภาพรวมไม่ได้เจาะจงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกาการกาหนด หลักการสาคัญได้แก่ 1) การกาหนดวัตถุประสงค์ที่ครอบคลุมผลการเรียนรู้ ด้านพุทธิพิสัย ด้านทักษะพิสัย ด้านจิตพิสัย 2) เนื้อหาสาระที่จาเป็นได้แก่ ด้านทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทักษะโน้ตประดับ ด้านบริบทของบทเพลงในแต่ละยุค และด้านทักษะที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทักษะโน้ตประดับ 3) กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติทักษะโน้ตประดับและประยุกต์ใช้กับบทเพลงที่หลายหลาก 4) สื่อ ได้แก่ หนังสือแบบฝึกหัดการใช้นิ้วมือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และ 5) การประเมินผลควรเป็นการประเมินผลระหว่างเรียนและหลังเรียนเพื่อประมวลความรู้ความเข้าใจในตัวผู้เรียนในการเรียนการสอนและการตีความการสื่ออารมณ์ผ่านทางบทประพันธ์

คำสำคัญ: การจัดการเรียนการสอนดนตรี/เทคนิคการปฏิบัติโน้ตประดับ/นักเรียนเปียโนระดับชั้นกลาง

 

Abstract

The purposes of this study were 1) to examine the condition of teaching the ornamentation techniques in the compositions for intermediate piano students, and 2) to propose guidelines for organizing music instruction to develop ornamentation techniques for intermediate piano students. A sample was selected from 5 experts, 10 instructors, the piano standard practice examination skills books from grades 4 and 5 from Trinity College of Music, and 5 classes of students that take the exam in grades 4 and 5 on the ornamentation techniques. The Research tools consist of form document analysis, interviews and classroom observation. The data were analyzed using descriptive statistics and content analysis.

The results of the study were as follows: 1) the majority of the instructors were teaching the ornamentation while studying the songs in both theory and practice in non-specific ways, and 2) the factors relevant to determining the key were 1. The study objectives that cover cognitive domain psycho-motor domain and affective domain. 2. The important content such as the theories and practical techniques which include the ornamentation techniques from songs in different eras. 3. The activities that encourage students to understand and be able to use the ornamental note in songs. 4. Instruction media such as the exercise book for fingering and electronic media and 5. The evaluation that are collected while students are studying and after studying. It is used for estimating students’ understanding in learning and interpreting songs.

KEYWORDS: ORGANIZING MUSIC INSTRUCTION / ORNAMENTATION TECHNIQUES / INTERMEDIATE PIANO STUDENTS

Downloads

How to Cite

ประมายะยัง ส., & บริบูรณ์วิรีย์ ณ. (2014). การนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนดนตรีเพื่อพัฒนาเทคนิคการปฏิบัติโน้ตประดับ สำหรับนักเรียนเปียโนระดับชั้นกลาง. An Online Journal of Education, 9(2), 410–422. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/20386