การสร้างเสริมทุนชุมชนผ่านการเรียนรู้จากการสร้างสื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

Authors

  • ณัฐวดี ใจแสวงทรัพย์ นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชาภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นาทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อุบลวรรณ หงษวิทยากร อาจารย์ประจาสาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นาทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ทุนชุมชน, การสร้างสื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น, ชุมชน, สื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น, COMMUNITY CAPITAL, LOCAL ART AND CULTURAL MEDIA PRODUCTION, COMMUNITY, LOCAL ART AND CULTURAL MEDIA

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัจจัยเงื่อนไขการเรียนรู้ในการสร้างเสริมทุนชุมชน 2) เพื่อวิเคราะห์การเรียนรู้จากการสร้างสื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อสร้างเสริมทุนชุมชน 3) เพื่อนาเสนอแนวทางการสร้างเสริมทุนชุมชนผ่านการเรียนรู้จากการสร้างสื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากชุมชนที่มีการสร้างสื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น จำนวน 22 ชุมชน จำนวน 407 ฉบับ จากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS FOR WINDOW นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาจากชุมชนที่มีทุนชุมชนสูงจากการสร้างสื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยทำการสัมภาษณ์คนในชุมชนและสนทนากลุ่มกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

ผลการวิเคราะห์พบว่า 1) สภาพการเรียนรู้จะเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ โดยมีแหล่งเรียนรู้สาคัญคือ สถานศึกษา ปัจจัยการเรียนรู้ที่สาคัญ คือ บุคลากร ที่มีความร่วมมือในชุมชนจากทุกภาคส่วน 2) การเรียนรู้การสร้างสื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นจะช่วยสร้างเสริมทุนชุมชนด้านทุนสังคมมากที่สุด เมื่อพิจารณาจาแนกตามช่วงการเรียนรู้ พบว่า ช่วงการเตรียมการสามารถสร้างเสริมทุนมนุษย์ ช่วงการดาเนินการสร้างเสริมทุนวัฒนธรรม และช่วงการประเมินผลและเผยแพร่สร้างเสริมทุนสถาบันครอบครัว และ 3) แนวทางในการสร้างเสริมทุนชุมชนทั้ง 5 ด้าน ควรมีการจัดกิจกรรมสาคัญ ดังนี้ 3.1) ทุนมนุษย์ ควรมีการจัดกิจกรรมที่ลงมือปฏิบัติจริง 3.2) ทุนสถาบันครอบครัว ควรจัดกิจกรรมที่เน้นการสร้างสัมพันธภาพทากิจกรรมร่วมกัน 3.3) ทุนวัฒนธรรม ควรจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในการเรียนการสอนของโรงเรียน 3.4) ทุนกิจกรรม ชุมชนควรจัดเวทีสาธารณะเพื่อเป็นพื้นที่ในการแสวงหาเป้าหมายของชุมชนร่วมกัน และ 3.5) ทุนสังคม ควรจัดให้มีลานวัฒนธรรมของชุมชนเพื่อสร้างพื้นที่การสร้างสื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ในการลดช่องว่างระหว่างวัย

คำสำคัญ: ทุนชุมชน/ การสร้างสื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น / ชุมชน / สื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

 

Abstract

This research is a mixed method research. The objectives are 1) to study the characteristics and condition factors for the learning of enhancement of community capital, 2) to analyze the learning of local art and cultural media production for enhancement of community capital, and 3) to propose an approach to enhancement of community capital through the learning of local art and cultural media production. Questionnaires were used to collect information from the 22 communities with the continuous creation of local art and cultural media (407 people). Then the data was analyzed using statistical analysis with the computer program SPSS FOR WINDOWS. In addition, researchers have studied the community with a high social capital from the local art and cultural media product by interviewing people in the community who are involved with the creation of local art and cultural.

The analysis found that: 1) The characteristic of learning of enhancement of community capital comes mostly from self-study and they learn from school. People who have participated in the community find it to be a key learning factor. 2) Learning from local art and cultural media production most effects the enhancement of community capital in terms of social capital. Examining the learning period of local art and cultural media production shows that the preparation period enhances human capital the most and during the work period enhances culture capital the most. The evaluation and dissemination period enhances family capital the most. 3) The approach to enhancement of community capital separates each side (five sides). Thus we recommend the following: 3.1) Human capital; Activities should be done that embark theory into practice. 3.2) Family capital; this comes from the activities that focus on a good relationship in the family such as making a toy by using local materials. 3.3) Cultural capital; Cultural activities should be done in the school class. 3.4) Activity capital; this is activated by public events that can bring people together and find a common goal of the community. 3.5) Social capital; this comes from organizing cultural events to participate in as community activities and reduces the age gap by using local art and cultural media products.

Keywords: COMMUNITY CAPITAL / LOCAL ART AND CULTURAL MEDIA PRODUCTION/ COMMUNITY/ LOCAL ART AND CULTURAL MEDIA

Downloads

How to Cite

ใจแสวงทรัพย์ ณ., & หงษวิทยากร อ. (2014). การสร้างเสริมทุนชุมชนผ่านการเรียนรู้จากการสร้างสื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น. An Online Journal of Education, 9(2), 452–464. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/20393