การวิเคราะห์กระบวนการชี้แนะของครูและผลที่เกิดกับผู้เรียน: พหุกรณีศึกษา
Keywords:
การชี้แนะ, การให้ข้อมูลป้อนกลับ, การอ่าน, การเขียน, Coaching, Feedback, Reading, WritingAbstract
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อวิเคราะห์กระบวนการชี้แนะและรูปแบบการชี้แนะของครู และวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนจากกระบวนการชี้แนะของครูในเรื่องการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้น ป.1-3 เก็บรวบรวมข้อมูลจากครูภาษาไทยกรณีศึกษาที่สอนชั้น ป.1-3 จานวน 3 ท่าน และนักเรียนที่ครูกรณีศึกษาสอนชั้นละ 3 คน รวม 9 คน โดยคัดเลือกจากโรงเรียนที่มีนโยบายการสอนโดยใช้การชี้แนะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึก แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบวิเคราะห์เอกสาร และแบบวัดเจตคติต่อการเรียนภาษาไทย จากนั้นจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตามหลักการของวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบพหุกรณีศึกษา
ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการชี้แนะของครูมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นก่อนการชี้แนะ ขั้นการชี้แนะ และขั้นสรุปผล การชี้แนะของครูแต่ละท่านมีลักษณะคล้ายกันคือ การชี้แนะแบบครูเป็นหลัก ส่วนใหญ่จะพบการชี้แนะในนักเรียนที่มีระดับการเรียนรู้อ่อนถึงปานกลาง โดยครูจะชี้แนะเป็นรายบุคคลระหว่างเรียนและหลังเลิกเรียน เพื่อให้เห็นถึงสิ่งที่ควรปรับปรุงในด้านการอ่านและเขียนภาษาไทย หรือการทางานที่ได้รับมอบหมายอย่างถูกต้อง ขั้นการชี้แนะจะพบมากที่สุดในช่วงถามคำถามนักเรียน ทบทวนบทเรียน และแก้ไขงาน ส่วนการให้ข้อมูลป้อนกลับของครู พบว่าครูให้ข้อมูลป้อนกลับนักเรียนเชิงบวก โดยการพูดให้กำลังใจและเขียนเสนอแนะการอ่านการเขียนที่ถูกต้อง 2) ผลที่เกิดกับผู้เรียนจากการชี้แนะของครู พบว่านักเรียนส่วนใหญ่เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางบวกต่อการเรียน มีเจตคติที่ดีต่อการสอนของครู นักเรียนสามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้คล่องขึ้น และมีผลคะแนนจากการสอบที่ดีขึ้นตามลำดับ ส่วนผลจากแบบวัดเจตคติต่อการเรียนภาษาไทยของนักเรียน พบว่ามีความเชื่อมั่นของแบบวัดอยู่ในระดับสูง (.8839)
คำสำคัญ: การชี้แนะ/ การให้ข้อมูลป้อนกลับ/ การอ่าน/ การเขียน
Abstract
The purposes of this research study were: 1) to analysis the teachers’ coaching processes and types of coaching; and 2) to analysis the effects on the secondary students from teachers’ coaching processes. The participants in this study were three Thai language teachers who taught grade one to grade three. The sample was selected by the coaching of school teaching policy. The research instruments comprised the documentary forms of recording, observing, interviewing and a questionnaire on the attitude towards Thai language study. Qualitative research analysis was used in this multiple case study.
The study has revealed that: 1) there are three steps in the coaching process: pre-coaching, coaching, and post-coaching. Most teacher coaching is similar in that the focus is more on the low to mid-level students. The teacher will advise them individually during the class and also after that in order to address and improve their Thai language skills or responsibility to work effectively. Coaching was used mostly in asking and answering questions, revising the lessons and correcting. Positive feedback from the teachers was found as regards encouraging the students’ abilities. 2) The students had positive feedback and attitudes towards their learning. From the observation, the students were more fluent in reading and writing including the result from the test, which continued to improve. Also, the result of the questionnaire on the attitude towards Thai language study was reliable at a level of .8839.
KEYWORDS: Coaching / Feedback/ Reading/ Writing