กระบวนการและผลของการศึกษาบทเรียนที่มีผลต่อการเรียนรูของครู:การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม

Authors

  • ไผ่ วสยางกูร นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา อาจารย์ประจาสาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การศึกษาบทเรียน, การเรียนรู้ของครู, การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม, LESSON STUDY, TEACHERS’ LEARNING, SOCIAL NETWORK ANALYSIS

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะกระบวนการเรียนรู้และปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของครูใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลวัดคลองใหญ่ อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด เก็บรวบรวมข้อมูล จากการสังเกต การสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา สร้างข้อสรุปแบบอุปนัย

ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะกระบวนการการศึกษาบทเรียนมีลักษณะเป็นวงจรซึ่งแต่ละวงจรประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน คือ การกาหนดเป้าหมายและวางแผนการสอน การปฏิบัติการสอนและการสังเกต การอภิปรายผลและการสะท้อนกลับ เป็นการดำเนินการแบบร่วมมือของกลุ่มศึกษาบทเรียนในลักษณะชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และทรัพยากรทางการศึกษาและส่งเสริมมุมมองเชิงบวกต่อการทางานซึ่งกันและกัน 2) ลักษณะปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของครูมีลักษณะความสัมพันธ์แนวราบ มีครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการเป็นทั้งบุคคลศูนย์กลางของเครือข่ายและบุคคลคั่นกลาง โดยมีปัจจัยจากการสนับสนุนของผู้บริหารและศึกษานิเทศก์

คำสำคัญ: การศึกษาบทเรียน/การเรียนรู้ของครู/การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม

 

Abstract

This qualitative research study aimed to analyze the teachers’ characteristics of learning process and interaction. This case study was conducted at Anuban Wat KhlongYai School in Klong Yai District, Trat Province. The data was collected from observation, interview, and documentary analysis. Content analysis and analytic induction were used to analyze the data. The results revealed that: 1) The characteristic of the learning process was cyclical consisting of three stages: setting goals and planning lessons, teaching and observing, and discussing and reflecting. Also, the learning group cooperation was in the form of a professional learning community; teachers exchanged knowledge, experiences, and educational resources as well as enhanced one another in their positive thinking toward their work. 2) The characteristics of interaction between teachers took the form of a flat relationship with the head of the academic department as central and betweenness centrality with the support from administrators and supervisors..

KEYWORDS: LESSON STUDY/TEACHERS’ LEARNING/SOCIAL NETWORK ANALYSIS

Downloads

How to Cite

วสยางกูร ไ., & สุวรรณมรรคา ส. (2014). กระบวนการและผลของการศึกษาบทเรียนที่มีผลต่อการเรียนรูของครู:การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม. An Online Journal of Education, 9(2), 476–485. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/20404