การเปรียบเทียบสถิติบูทสแตรปของการออกแบบการปรับเทียบสำหรับแบบสอบรูปแบบผสมระหว่างวิธีที่ต่างกัน

Authors

  • พนิดา พานิชวัฒนะ นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง อาจารย์ประจาสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การออกแบบการปรับเทียบ, แบบสอบรูปแบบผสม, สถิติบูทสแตรป, EQUATING DESIGNS, MIXED FORMAT TEST, BOOTSTRAPPED STATISTICS

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบสถิติบูทสแตรป (bootstrapped statistics) ของ การออกแบบการปรับเทียบคะแนนแบบสอบรูปแบบผสมโดยใช้ข้อสอบร่วมสาหรับกลุ่มไม่เท่าเทียมกัน (NEAT) ระหว่างวิธีการตรวจที่แตกต่างกัน 2) เพื่อเปรียบเทียบค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความแตกต่างยกกาลังสอง (RMSD) ของ การออกแบบการปรับเทียบคะแนนแบบสอบรูปแบบผสมโดยใช้ข้อสอบร่วมสาหรับกลุ่มไม่เท่าเทียมกัน (NEAT) ระหว่าง วิธีของเลอวินและวิธี CLE กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ปีการศึกษา 2556 จังหวัดกรุงเทพมหานครจำนวน 1,609 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบสอบคู่ขนานวิชาฟิสิกส์ ได้แก่ แบบสอบฉบับใหม่และฉบับอ้างอิง ประกอบด้วยข้อสอบแบบหลายตัวเลือกจำนวน 16 ข้อ และข้อสอบแบบสร้างคาตอบจำนวน 8 ข้อ แบบสอบทั้งสองฉบับมีข้อสอบร่วมจำนวน 12 ข้อ 2) เกณฑ์การให้คะแนนที่ใช้ในการตรวจข้อสอบแบบสร้างคาตอบในแบบสอบฉบับใหม่และฉบับอ้างอิง 3) ผู้ตรวจให้คะแนน 2 คน โดยวิธีการตรวจทั้ง 3 วิธี คือ 1) วิธีตรวจข้อสอบร่วมแบบสร้างคำตอบ โดยไม่มีการตรวจให้คะแนนข้ามกลุ่ม 2) วิธีตรวจข้อสอบร่วมแบบสร้างคำตอบ โดยมีการตรวจให้คะแนนข้ามกลุ่มทั้งหมดของข้อสอบร่วม 3) วิธีตรวจข้อสอบร่วมแบบสร้างคำตอบ โดยมีการตรวจให้คะแนนข้ามกลุ่มครึ่งหนึ่งของข้อสอบร่วม

ผลการวิจัยพบว่า 1) วิธีตรวจข้อสอบร่วมแบบสร้างคำตอบ โดยมีการตรวจให้คะแนนข้ามกลุ่มครึ่งหนึ่งของข้อสอบร่วม เมื่อใช้วิธี CLE มีค่า RMSE ค่า Equating error และค่า Bias ต่าที่สุด คือ .802, .251 และ .840 ตามลำดับ 2) วิธี CLE มีค่า RMSD จากวิธีการตรวจวิธีที่ 1, 2 และ 3 คือ 1.421, 1.481 และ 1.481 ตามลำดับ ซึ่งเป็นค่าที่ต่ากว่า วิธีของเลอวินจากวิธีการตรวจวิธีที่ 1, 2 และ 3 คือ 1.717, 1.804 และ 1.793 ตามลำดับ

คำสำคัญ : การออกแบบการปรับเทียบ / แบบสอบรูปแบบผสม / สถิติบูทสแตรป

 

Abstract

The purposes of this research were 1) to compare bootstrapped statistics of equating mixed-format test of nonequivalent groups with anchor test equating design among scoring methods 2) to compare root mean squared difference (RMSD) of equating mixed-format test of nonequivalent groups with anchor test equating design between Levine method and CLE method. The sample were 1,607 students from Matayomsuksa 4. They were used for data collecting with 1) two parallel mixed - format tests of the Physics. There were new form and reference form which consisted 16 multiple-choice items and 8 construct-response items. Those form had 12 items in anchor test 2) rubric scoring used for constructed-response items in Physics test, new and reference forms. 3) two raters. Three scoring methods were 1) constructed-response anchor items scoring methods with no trend scoring method 2) constructed-response anchor items scoring methods with full anchor test trend scoring method 3) constructed-response anchor items scoring methods with half anchor test trend scoring method.

The results of the study revealed that 1) constructed-response anchor items scoring methods with half anchor test trend scoring method with CLE method resulted in smallest RMSE , Equating error and Bias were .802, .251, .840. 2) CLE method had RMSD from scoring methods of 1, 2, 3 method were 1.421, 1.481, 1.481, which lower than those of equating with Levine method were 1.717, 1.804, 1.793.

KEYWORDS : EQUATING DESIGNS / MIXED FORMAT TEST / BOOTSTRAPPED STATISTICS

Downloads

How to Cite

พานิชวัฒนะ พ., & หลาวทอง ณ. (2014). การเปรียบเทียบสถิติบูทสแตรปของการออกแบบการปรับเทียบสำหรับแบบสอบรูปแบบผสมระหว่างวิธีที่ต่างกัน. An Online Journal of Education, 9(2), 486–500. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/20406