อิทธิพลของการนิยมความสมบูรณ์แบบและการสนับสนุนของอาจารย์ที่ปรึกษา ที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าในการทาวิทยานิพนธ์ของนิสิตบัณฑิตศึกษา โดยมีพหุตัวแปรส่งผ่าน
Keywords:
การนิยมความสมบูรณ์แบบ, การสนับสนุนของอาจารย์ที่ปรึกษา, ความเครียด, ความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์, Perfectionism, Adviser's support, Stress, Thesis progress, Self-efficacy, AdviserAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการนิยมความสมบูรณ์แบบและการสนับสนุนของอาจารย์ ที่ปรึกษาตามการรับรู้ของนิสิตบัณฑิตศึกษา (2) ศึกษาระดับการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความเครียด และความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์ (3) ตรวจสอบความตรงอิทธิพลของการนิยมความสมบูรณ์แบบและการสนับสนุนของอาจารย์ที่ปรึกษาที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์ของนิสิตบัณฑิตศึกษา โดยมีพหุตัวแปรส่งผ่านกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ (4) วิเคราะห์ลักษณะการส่งผ่านอิทธิพลของการรับรู้ความสามารถของตนเองและความเครียดระหว่างการนิยมความสมบูรณ์แบบและการสนับสนุนของอาจารย์ที่ปรึกษากับความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์ ตัวอย่างวิจัยคือ นิสิตปริญญาโท ชั้นปีที่ 2-4 หลักสูตรทำวิทยานิพนธ์ คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยรัฐบาล จานวน 359 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ค่าความเที่ยง .730-.927 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) ด้วยโปรแกรม LISREL
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การนิยมความสมบูรณ์แบบของอาจารย์ที่ปรึกษาและการสนับสนุนของอาจารย์ที่ปรึกษาผ่านการรับรู้ของนิสิตอยู่ในระดับมาก 2) การรับรู้ความสามารถของตนเอง และความก้าวหน้าในการทาวิทยานิพนธ์ อยู่ในระดับมาก ส่วนความเครียดในการทำวิทยานิพนธ์อยู่ในระดับปานกลาง 3) โมเดลอิทธิพลเชิงสาเหตุที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (x2=24.915, df = 16, p = 0.071, GFI = 0.990, AGFI = 0.937, RMR = 0.044) และ 4) การรับรู้ความสามารถของตนเอง มีบทบาทส่งผ่านแบบบางส่วน จากการนิยมความสมบูรณ์แบบและการสนับสนุนของอาจารย์ที่ปรึกษาไปยังความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์
คำสำคัญ: การนิยมความสมบูรณ์แบบ, การสนับสนุนของอาจารย์ที่ปรึกษา, ความเครียด, ความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
Abstract
The objectives of the research were (1) to study levels of self-efficacy, stress and thesis progress on graduate students; (2) to study levels of perfectionism and support of adviser via graduate students' perceive; (3) to validate an effects of perfectionism and support of adviser on graduate students' thesis progress; and (4) to analyze an effect types of self-efficacy and stress between perfectionism and support of adviser on thesis progress. The samples were Master’s Degree Student who study in thesis curriculum in Faculty of Education from Public Universities amount 359. These samples are selected by multi-stage random sampling. The research instruments was questionnaire that reliability was .730-.927. Data analysis were conducted by using descriptive statistics, and LISREL to validate an of structural equation models. The research finding were as follows:
1) The perfectionism of adviser's and support of adviser's level via graduate students' perceive was at the high level.
2) The self-efficacy and thesis progress was at the high level. The stress from thesis processing was at the moderate level.
3) A causal model was valid and fitted with the empirical data (x2=24.915, df = 16, p = 0.071, GFI = 0.990, AGFI = 0.937, RMR = 0.044
4) Self-efficacy was the partial mediator between perfectionism and support of adviser and thesis progress.
KEYWORDS: Perfectionism / Adviser's support / Stress / Thesis progress / Self-efficacy / Adviser