ผลของหลักสูตรผลิตครูที่มีต่อความรู้ด้านการออกแบบการเรียนการสอนโดยมีการรับรู้ความสามารถแห่งตนและความรู้ตามกรอบทีแพคของนักศึกษาครูเป็นตัวแปรส่งผ่าน: โมเดลการส่งผ่านแบบพหุมิติ

Authors

  • นัฐพร เกียรติบัณฑิตกุล นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สุวิมล ว่องวาณิช อาจารย์ประจาสาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

ความรู้ด้านการออกแบบการเรียนการสอน, ความรู้ตามกรอบทีแพค, การส่งผ่านแบบพหุมิติ, INSTRUCTIONAL DESIGN, TPACK, MULTIPLE MEDIATION MODEL

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อ 1) วิเคราะห์ระดับความรู้ด้านการออกแบบการเรียนการสอน ระดับการรับรู้ความสามารถแห่งตน ระดับความรู้ตามกรอบทีแพค และระดับความรู้และประสบการณ์จากหลักสูตรผลิตครูของนักศึกษาครู 2) พัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของหลักสูตรผลิตครูที่มีต่อความรู้ด้านการออกแบบการเรียนการสอน และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดล และ 3) วิเคราะห์ลักษณะการส่งผ่านอิทธิพลทางตรงของหลักสูตรผลิตครูไปยังความรู้ด้านการออกแบบการเรียนการสอนและอิทธิพลทางอ้อมที่มีการส่งผ่านการรับรู้ความสามารถแห่งตนและความรู้ตามกรอบทีแพคไปยังความรู้ด้านการออกแบบการเรียนการสอนตัวอย่าง คือ นักศึกษาครู จำนวน 517 คน ที่ได้จากการเลือกสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามวัดความรู้ด้านการออกแบบการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติบรรยาย การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (โดยใช้โปรแกรม LISREL)

ผลการวิจัยพบว่า

1) นักศึกษาครูชั้นปีที่ 5 ที่กาลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพมีความรู้ด้านการออกแบบการเรียนการสอน การรับรู้ความสามารถแห่งตน ความรู้ตามกรอบทีแพค และความรู้และประสบการณ์จากหลักสูตรผลิตครูในระดับปานกลางค่อนข้างสูง (Mean = 3.86, 3.96, 3.84 และ 3.75 ตามลำดับ)

2) โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ (x2 = 5.44; df = 8; p-value = .709) (ซึ่งแตกต่างจากศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ .997 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ .988 แสดงว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

3) โมเดลเชิงสาเหตุของหลักสูตรผลิตครูที่มีต่อความรู้ด้านการออกแบบการเรียนการสอน เป็นโมเดลการวิจัยที่มีการส่งผ่านแบบบางส่วน โดยความรู้ด้านการออกแบบการเรียนการสอนได้รับอิทธิพลทางตรงจากความรู้และประสบการณ์จากหลักสูตรผลิตครู (.34) และความรู้ด้านการออกแบบการเรียนการสอนยังได้รับอิทธิพลทางอ้อมผ่านการรับรู้ความสามารถแห่งตน และความรู้ตามกรอบทีแพค (.54) ทุกค่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ: ความรู้ด้านการออกแบบการเรียนการสอน/ ความรู้ตามกรอบทีแพค/ การส่งผ่านแบบพหุมิติ

 

Abstract

The objectives of this study were to 1) analyze the level of instructional design knowledge, the level of self-efficacy, the level of knowledge with TPACK and the level of knowledge and student teachers’ experiences in teacher education program , 2) develop the casual model of teacher education program on instructional design knowledge and validate the model, and 3) analyze the direct effect of teacher education program on instructional design knowledge and indirect effect of teacher education program via self-efficacy and TPACK to instructional design knowledge. Five hundred and seventeen student teachers were selected by simple random sampling. The research instruments were instructional design knowledge, self-efficacy, TPACK and knowledge and experience of teacher education measures. Data were analyzed by using descriptive statistics and SEM (Structural Equation Model).

The results were as follows:

1) Student teachers had relatively high level of instructional design knowledge, self-efficacy, knowledge with TPACK and knowledge and experience of teacher education (Mean = 3.86, 3.96, 3.84 and, 3.75).

2) The model fitted to the empirical data with Chi-square = 5.44, df = 8, p-value = .71, GFI = .99 and AFGI = .99.

3) A causal and effect model of teacher education program on instructional design knowledge was a model with partial mediators, self-efficacy and TPACK. Knowledge and experience in teacher education program directly influenced instructional design knowledge. Instructional design knowledge had significant indirect effect via self-efficacy and TPACK. All effects were significant at p<.05.

Keywords: INSTRUCTIONAL DESIGN / TPACK / MULTIPLE MEDIATION MODEL

Downloads

How to Cite

เกียรติบัณฑิตกุล น., & ว่องวาณิช ส. (2014). ผลของหลักสูตรผลิตครูที่มีต่อความรู้ด้านการออกแบบการเรียนการสอนโดยมีการรับรู้ความสามารถแห่งตนและความรู้ตามกรอบทีแพคของนักศึกษาครูเป็นตัวแปรส่งผ่าน: โมเดลการส่งผ่านแบบพหุมิติ. An Online Journal of Education, 9(2), 629–643. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/20442