การพัฒนาดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนประถมศึกษา

Authors

  • ลัดดา เลนะนันท์ นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ อาจารย์ประจาสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

พัฒนา, ดัชนีชี้วัดสุขภาพ, นักเรียนประถมศึกษา, DEVELOPMENT, HEALTH INDICATOR, PRIMARY SCHOOL STUDENTS

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อพัฒนาดัชนีชี้วัดสุขภาพ และเกณฑ์ดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ได้รวบรวมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขศึกษาหรือด้านสุขภาพ จำนวน 17 ท่าน โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้น และดาเนินการเก็บข้อมูลจำนวน 3 รอบ แล้วนามาหาค่ามัธยฐาน ฐานนิยม ค่าความแตกต่างระหว่างค่ามัธยฐานและฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ แล้วนำมาสรุปหาฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ได้รับฉันทามติจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ด้านสุขภาพกาย มีจานวน 23 ดัชนี ด้านสุขภาพจิต มีจำนวน 12 ดัชนี และด้านสุขภาพทางสังคม มีจำนวน 19 ดัชนี 2) เกณฑ์ดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนประถมศึกษา (2.1) ด้านสุขภาพกาย 19-23 คะแนน อยู่ระดับดีมาก 15-18 คะแนน อยู่ระดับดี 12-14 คะแนน อยู่ระดับ ปานกลาง และต่ำกว่า 12 คะแนน อยู่ระดับปรับปรุงแก้ไข (2.2) ด้านสุขภาพจิต 10-12 คะแนน อยู่ระดับดีมาก 8-9 คะแนน อยู่ระดับดี 6-7 คะแนน อยู่ระดับปานกลาง และต่ำกว่า 6 คะแนน อยู่ระดับปรับปรุงแก้ไข (2.3) ด้านสุขภาพทางสังคม 16-19 คะแนน อยู่ระดับดีมาก 13-15 คะแนน อยู่ระดับดี 10-12 คะแนน อยู่ระดับปานกลาง และต่ำกว่า 10 คะแนน อยู่ระดับปรับปรุงแก้ไข

คำสำคัญ: พัฒนา/ดัชนีชี้วัดสุขภาพ/นักเรียนประถมศึกษา

 

Abstract

The objectives of this study were to develop the health indicators and criteria for primary school students exploiting the Delphi technique. Questionnaires were designed to systematically collect opinions from 17 experts in health professional and health educations. The experts answered three rounds of questionnaires. Then the median, mode, and absolute value of the difference between median and mode, and inter quartile range (IQR) of the data set were determined. Therefore, conclusions on consensus indicators and criteria from experts opinions were reached.

Results from the study were as follows: 1) Consensus indicators from experts’ opinions were grouped into three categories: Physical Health (23 indicators), Mental Health (12 indicators) and Social Health (19 indicators). 2) Criteria to assess health of primary school students: (2.1) Physical health dimension has criteria for level as: 19-23 score is excellent, 15-18 score is good, 12-14 score is moderate, and below 12 score is need improvement. (2.2) Mental health dimension has criteria for level as: 10-12 score is excellent, 8-9 score is good, 6-7 score is moderate, and below 6 score is need improvement. (2.3) Social health dimension has criteria for level as: 16-19 score is excellent, 13-15 score is good, 10-12 score is moderate, and below 10 score is need improvement.

KEYWORDS: DEVELOPMENT/ HEALTH INDICATOR / PRIMARY SCHOOL STUDENTS

Downloads

How to Cite

เลนะนันท์ ล., & วัฒนบุรานนท์ เ. (2014). การพัฒนาดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนประถมศึกษา. An Online Journal of Education, 9(2), 644–658. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/20444