การนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์ของครูมัธยมศึกษาตอนปลาย

Authors

  • โสมภิดา มาลยาภรณ์
  • ฤดีรัตน์ ชุษณะโชติ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

Keywords:

การอ่านเชิงวิเคราะห์, การจัดการเรียนการสอน, นักเรียนมัธยมศึกษา, การอ่านภาษาอังกฤษ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. ศึกษาการจัดการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์ของครูมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2. นำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์ของครูมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ครูที่สอนอ่านวิชาภาษาอังกฤษและทักษะการอ่านในรายวิชาภาษาอังกฤษระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย การศึกษาครั้งนี้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านการสังเกตการสอนและการสัมภาษณ์  เครื่องมือที่ ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี จำนวน 3 ประเภท ได้ แก่  1 . แบบประเมินตนเองด้านการสอนอ่านภาษาอังกฤษ 2 . แบบสังเกตการสอน และ 3. แบบสัมภาษณ์ครูวิชาภาษาอังกฤษ

สรุปผลการวิจัย พบว่า จากการศึกษาการจัดการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์ของครูมัธยมศึกษาตอนปลายพบประเด็นทั้งสิ้น 6 ประเด็น ได้แก่ 1.การเชื่อมโยงความรู้สู่บทอ่าน พบว่า 1.1 ครูฝึกให้นักเรียนคาดคะเนความสัมพันธ์ระหว่างรูปภาพและหัวข้อจากบทอ่าน 2. การใช้คำถาม พบว่า มีการใช้คำถามที่ หลากหลายเพื่อกระตุ้นทักษะการคิดวิเคราะห์ ได้แก่ คำถามคาดคะเน คำถามเปรียบเทียบ คำถามเพื่อแสดงความคิดเห็น 3. การเลือกบทอ่าน พบว่า  3.1 ครูใช้บทอ่านที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวัน 3.2 ครูใช้บทอ่านที่ มีการบูรณาการระหว่างวิชา  4. บทบาทนักเรียน พบว่า 4.1 ครูใช้กระบวนการกลุ่ม 4.2 ครูใช้การสลับบทบาทจากการแสดงบทบาทสมมุติ 5. การสอนอ่านเชิงวิเคราะห์ พบว่า ครูสอนกลวิธีและแนวทางอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์ที่นักเรียนควรปฏิบัติ และ 6. การวัดและประเมินผล พบว่า ครูวัดประเมินผลจาก 6.1 การเชื่อมโยงความรู้สู่บทอ่าน 6.2 การตีความและการวิเคราะห์เนื้อเรื่อง 6.3 การวิพากษ์และวิจารณ์รายละเอียดของเนื้อเรื่อง 2. แนวทางการจัดการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์มี 6 ประเด็น ได้แก่ 1. ด้านการเชื่อมโยงความรู้เข้าสู่บทอ่าน ควรประยุกต์บทอ่านกับความรู้ภายนอกเพื่อกระตุ้นประสบการณ์ เดิมของนักเรียน เช่น รูปภาพ หัวข้อเรื่องและคำสำคัญต่าง ๆ 2. ด้านการใช้คำถาม ควรเรียงลำดับความสำคัญของคำถามและคำถามนั้นต้องมีความหลากหลาย อีกทั้งกระตุ้นความสนใจและพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ 3. การเลือกบทอ่าน ครูควรเลือกบทอ่านที่มีความเกี่ยวข้องกับนักเรียน มีการบูรณาการและให้นักเรียนได้เลือกบทอ่านด้วยตนเอง 4. ด้านบทบาทนักเรียน ควรกระตุ้นให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์ ผ่านกิจกรรมที่ สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน 5. ด้านการสอนอ่านเชิงวิเคราะห์ ควรฝึกฝนกลวิธีการอ่านเชิงวิเคราะห์ให้กับนักเรียนเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้กับนักเรียน 6. ด้านการวัดประเมินผล ควรใช้วิธีการวัดประเมินผลด้วยการให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้ ตีความและวิเคราะห์เนื้อเรื่องอีกทั้งวิพากษ์วิจารณ์เนื้อเรื่อง

Downloads

Published

2018-12-28

How to Cite

มาลยาภรณ์ โ., & ชุษณะโชติ ฤ. (2018). การนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์ของครูมัธยมศึกษาตอนปลาย. An Online Journal of Education, 13(4), 269–285. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/205226