การเปรียบเทียบดัชนีความเป็นคู่ขนานของข้อสอบและแบบสอบที่ได้จากการคัดเลือกข้อสอบระหว่าง กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีลักษณะแตกต่างกัน: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีฉันทามติทางวัฒนธรรมแบบมีรูปแบบ
Keywords:
แบบสอบคู่ขนาน, ทฤษฎีฉันทามติทางวัฒนธรรมAbstract
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการตัดสินความเป็นคู่ขนานของข้อสอบของผู้เชี่ยวชาญ 2) เพื่อเปรียบเทียบดัชนีความเป็นคู่ขนานของแบบสอบที่ได้จากการคัดเลือกโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีลักษณะแตกต่างกันและ3) เพื่อเปรียบเทียบดัชนีความเป็นคู่ขนานของข้อสอบที่ได้จากการคัดเลือกโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีลักษณะแตกต่างกัน ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สอนนักศึกษาแพทย์วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าจากการเลือกแบบเจาะจง 100 คน โดยจัดกลุ่มเพื่อคัดเลือกข้อสอบสำหรับสร้างแบบสอบคู่ขนานตามระดับความสามารถในการตัดสินความเป็นคู่ขนานของข้อสอบและแบบสอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดระดับความสามารถในการตัดสินความเป็นคู่ขนานของข้อสอบและข้อสอบสำหรับคัดเลือกเพื่อสร้างแบบสอบคู่ขนานสำหรับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สอนน้อยกว่า 10 ปี ส่วนใหญ่มีระดับความสามารถในการตัดสินความเป็นคู่ขนานของข้อสอบในช่วง 0.40-0.59, 0.60-0.79 และ 0.80-1.00 ตามลำดับ แตกต่างจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สอนตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปที่ 0.60-0.79, 0.40-0.59 และ 0.80-1.00 ตามลำดับ 2) แบบสอบคู่ขนานที่สร้างขึ้นจากการคัดเลือกข้อสอบโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีระดับความสามารถในการตัดสินความเป็นคู่ขนานของข้อสอบระดับ 0.80-1.00 และมีประสบการณ์สอนตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปมีความเป็นคู่ขนานของแบบสอบสูงกว่ากลุ่มที่อยู่ในระดับต่ำกว่า (RMSD = 0.283 [MSG = 0.020] และ MRD = 0.042 [MRIG = 0.003]) และ3) ในทุกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำของการตรวจสอบความสามารถในการตัดสินความเป็นคู่ขนานของข้อสอบเป็นโดยอาศัยทฤษฎีฉันทามติทางวัฒนธรรมแบบมีรูปแบบมีค่าเฉลี่ยของ RMSD ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F=0.582, p=0.755)