การพัฒนารูปแบบการศึกษานอกสถานที่เสมือนด้วยการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

Authors

  • ทศพร ทับวงศ์
  • ประกอบ กรณีกิจ, รองศาสตราจารย์ ดร.

Keywords:

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, การศึกษานอกสถานที่เสมือน, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ

Abstract

 การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการศึกษานอกสถานที่เสมือนด้วยการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน โดยเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  และผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และประเมินรูปแบบ

ผู้วิจัยได้วิเคราะห์และสังเคราะห์จากศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้นอกสถานที่เสมือนด้วยการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถสรุปได้ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ องค์ประกอบของรูปแบบประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านเนื้อหาของการเรียนด้วยการศึกษานอกสถานที่เสมือน
2) ระบบบริหารจัดการ 3) สื่อการเรียนรู้ สำหรับขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งได้ เป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเตรียมการและกำหนดประเด็นปัญหา ขั้นตอนที่ 2 ขั้นสำรวจและรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนที่ 3 ขั้นสรุปและนำเสนอ และ ผู้ทรงคุณวุฒิได้ประเมินว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.60, SD = 0.49)

Author Biographies

ทศพร ทับวงศ์

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประกอบ กรณีกิจ, รองศาสตราจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2018-12-28

How to Cite

ทับวงศ์ ท., & กรณีกิจ ป. (2018). การพัฒนารูปแบบการศึกษานอกสถานที่เสมือนด้วยการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. An Online Journal of Education, 13(4), 330–342. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/206885