การพัฒนารูปแบบการอ่านอย่างกว้างขวางจากชั้นหนังสือเสมือนผ่านชุมชนการอ่านออนไลน์เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีความสุขสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
Keywords:
การอ่านอย่างกว้างขวาง, ชั้นหนังสือเสมือน, การอ่านเพื่อความเข้าใจAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนา ศึกษาผลและนำเสนอรูปแบบการอ่านอย่างกว้างขวางจากชั้นหนังสือเสมือนผ่านชุมชนการอ่านออนไลน์เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีความสุขสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 29 คน และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เว็บไซต์ชั้นหนังสือเสมือน แบบวัดความสุขในการอ่าน แบบทดสอบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ แบบสังเกตพฤติกรรมการใช้รูปแบบและแบบวัดความพึงพอใจการใช้รูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent)
ผลการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ได้แก่ผลจากการศึกษาความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับร่างรูปแบบ ค่า IOC=0.88 สามารถนำไปทดลองใช้ได้ ระยะที่ 2 ผลคะแนนความสุขในการอ่านหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลคะแนนความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจหลังการใช้รูปแบบสูงว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลคะแนนความพึงพอใจมีความเฉลี่ย 4.33 อยู่ในระดับดี ผลคะแนนจากการสังเกตพฤติกรรมมีค่าเฉลี่ย 2.47 อยู่ในระดับดี ระยะที่ 3 ผลคะแนนเฉลี่ยจากการรับรองรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าเฉลี่ย 4.91 อยู่ในระดับเหมาะสมมาก จึงได้สรุปองค์ประกอบและขั้นตอนของรูปแบบฯดังนี้ องค์ประกอบ ได้แก่ 1.มิติของการอ่านอย่างกว้างขวาง (Diemension of ER) 2. การพัฒนาสื่อและกิจกรรม (Development of media and activity) 3.การฝึกปฏิบัติอย่างกว้างขวาง (Drill) 4.การประเมินผล (Evaluation) ขั้นตอนของการอ่านอย่างกว้างขวางจากชั้นหนังสือเสมือน ได้แก่ ขั้นที่หนึ่ง เลือกบทอ่าน (Choose your book) ขั้นที่สอง ทำแบบทดสอบ (Take a quiz) ขั้นที่สาม พูดคุย (Let’s chat)ขั้นที่สี่ เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน (Let’s write)