ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้โบซูบอลที่มีต่อการทรงตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

Authors

  • ศราวุฒิ อินพวง
  • ภารดี ศรีลัด
  • สุธนะ ติงศภัทิย์

Keywords:

นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน, การออกกำลังกายโดยใช้โบซูบอล, การทรงตัว, ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้โบซูบอลที่มีผลต่อการทรงตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ก่อนและหลังการทดลอง 4 และ 8 สัปดาห์ เป็นวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีกลุ่มตัวอย่างเพียงหนึ่งกลุ่ม เป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องการได้ยิน โรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 9 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ทำการเปรียบเทียบผลการทดลอง จากการทดสอบก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 ผู้วิจัยทำการทดสอบสมรรถภาพทางกายก่อนการทดลองและหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 หลังจากการทดลองตามแผนการออกกำลังกายโดยใช้โบซูบอลรายสัปดาห์ จำนวน 8 โปรแกรมที่แตกต่างกัน ที่ได้สร้างและพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการทดลอง วันละ 60 นาที จำนวน 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปตามหลัก FITT (ธีรพล หอมสุคนธ์, 2553) ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการทดลองตลอดระยะเวลา 8 สัปดาห์ ไปวิเคราะห์ในเชิงสถิติ และบรรยายเพื่อสรุปผลของการดำเนินการวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า สมรรถภาพทางด้านการทรงตัวอยู่กับที่สำหรับการวัด 3 ครั้ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, F(2, 16) = 20.60, p < .001 เมื่อเปรียบเทียบภายหลังด้วยวิธี bonferroni พบว่า ผลของการทดสอบสมรรถภาพทางด้านการทรงตัวอยู่กับที่สัปดาห์ที่8 มากกว่า ก่อนการทดลองสัปดาห์ที่1 และสัปดาห์ที่4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อีกทั้งผลการทดสอบสมรรถภาพทางด้านการทรงตัวอยู่กับที่สัปดาห์ที่4 มากกว่าก่อนการทดลองสัปดาห์ที่1 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

สมรรถภาพทางด้านการทรงตัวขณะเคลื่อนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบค่าความแตกต่างทางสถิติ พบว่า สัปดาห์ที่8 มากกว่า ก่อนการทดลองสัปดาห์ที่1 และสัปดาห์ที่4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อีกทั้งผลการทดสอบสมรรถภาพทางด้านการทรงตัวขณะเคลื่อนที่สัปดาห์ที่4 มากกว่าก่อนการทดลองสัปดาห์ที่1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สมรรถภาพทางด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสำหรับการทดสอบ 3 ครั้ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, F(2, 16) = 13.86, p < .001 เมื่อเปรียบเทียบภายหลังด้วยวิธี bonferroni พบว่า ผลของการทดสอบสมรรถภาพทางด้านการความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสัปดาห์ที่8 มากกว่า ก่อนการทดลองสัปดาห์ที่1 และสัปดาห์ที่4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อีกทั้งผลการทดสอบสมรรถภาพทางด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสัปดาห์ที่4 มากกว่าก่อนการทดลองสัปดาห์ที่1 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

Author Biographies

ศราวุฒิ อินพวง

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

ภารดี ศรีลัด

อาจารย์ประจำสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุธนะ ติงศภัทิย์

อาจารย์ประจำสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2018-12-28

How to Cite

อินพวง ศ., ศรีลัด ภ., & ติงศภัทิย์ ส. (2018). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้โบซูบอลที่มีต่อการทรงตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน. An Online Journal of Education, 13(4), 417–430. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/210622