แนวทางการบริหารหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ ระดับปริญญาตรี : กรณีศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Authors

  • ดวงตา ใบโคกสูง สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชา นโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผศ.ดร.นันทรัตน์ เจริญกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชา นโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

การบริหารหลักสูตร, วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร, การพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียน, Curriculum Administration, Information and Communication Engineering Program, The Development 0f Learners Characteristics

Abstract

          การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบัน และ 2) เสนอแนวทางพัฒนาการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร หลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได่แก่ นิสิตระดับชั้นปีที่ 3 และ 4 สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร ปีการศึกษา 2557 และผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน ที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 3 และ 4 จำนวน 87 คน ผู้บริหาร 3 คน คณาจารย์ 5 คน และบุคลากรสายสนับสนุน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และการสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์

          ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร 1.1) ตามความคิดเห็นของนิสิตชั้นปีที่ 3 และ 4 ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียนตลอดหลักสูตร น้อยที่สุดคือด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 1.2) สภาพปัจจุบันของการบริหารหลักสูตรจากการวิเคราะห์เนื้อหาการสัมภาษณ์ผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุน ด้านที่มีความคิดเห็นตรงกันมากที่สุดคือ อาจารย์ส่วนใหญ่มีความรู้และเอาใจใส่ผู้เรียนดี แต่มีส่วนน้อยที่ต้องปรับปรุงคุณภาพการสอน และสิ่งอำนวยความสะดวกยังมีน้อยเกินไป ขาดบรรยากาศความเป็นนานาชาติ รองลงมา คือ ด้านการจัดการเรียนการสอนภาพรวมยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอ เนื่องจากขาดอาจารย์ประจำหลักสูตรทำให้การบริหารจัดการมีอุปสรรคและตารางสอนตารางสอบมีการซ้ำซ้อน อันดับที่ 3 คือ การเรียงลำดับโครงสร้างหลักสูตรยังไม่สอดคล้อง เนื้อหารายวิชามีความซ้ำซ้อน และสภาพห้องเรียน อุปกรณ์โสตทัศนศึกษาเก่าและชำรุด ตามลำดับ

This research was a survey research. The purposes were to 1) study the administration of information and communication engineering program and 2) propose guidelines for curriculum administration of Information and communication engineering, International Engineering Program. The population of research were the 3rd & 4th year students, academic year 2014, boards, faculties and supporting staffs involved in Information and Communication Engineering program. The sample population used in the research were the 3rd & 4th year students (87 of them), 3 representatives from the curriculum board, 5 faculty members and 6 staffs. The tools used in research were rating scales questionnaires and Semi-structured interviews. Data were analyzed using the frequency, percentage, mean and S.D. and content analysis for the interview data.

The results showed that: 1) the current state of program management, information and communication engineering 1.1) based on the opinion of third and fourth year students overall were moderate level. The item with the highest average was the development of student characteristics throughout the course, while the item with the lowest score was item environmental learning. 1.2) For the current conditions of the course using the content analysis from interviews with board, faculty members and supporting staffs, most agreed that most instructors are knowledgeable with strong attention to the leaners. But there were a few issues to be improve concerning the quality of teaching, and lack of some facilities and international climate.  Secondary, instruction management was not sufficiently conducted in an efficient manners, This brought in many difficulties in managing some activities. Thirdly, ranking of curriculum structures were not consistent with what was stated in the standard set by the board of curriculum. The content of courses still overlapped. Also, classrooms and some audiovisual equipment were not in good conditions, respectively.

Downloads

How to Cite

ใบโคกสูง ด., & เจริญกุล ผ. (2015). แนวทางการบริหารหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ ระดับปริญญาตรี : กรณีศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. An Online Journal of Education, 10(3), 85–99. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35542