การพัฒนาแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย: การวิเคราะห์ ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดระหว่างแผนการเรียน

Authors

  • สุนารี มีใหม่ นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • รศ.ดร.อวยพร เรืองตระกูล อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

จิตวิทยาศาสตร์, แบบวัดชนิดสถานการณ์, SCIENTIFIC MIND, SITUATION - TEST FORM

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ 3) วิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างแผนการเรียน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 935 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายชนิดสถานการณ์ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหา อำนาจจำแนก ความเที่ยง ความยาก ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยใช้โปรแกรม LISREL  

ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นเป็นแบบวัดชนิดสถานการณ์ตัวเลือกเรียงระดับตามความรู้สึก 5 ระดับของ Krathwohl จำนวน 30 ข้อ 2) ผลการตรวจสอบคุณภาพ พบว่า ความตรงเชิงเนื้อหามีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.6 ถึง 1.0 แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย มีความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.912 มีค่าความเที่ยงขององค์ประกอบย่อยอยู่ระหว่าง 0.606 ถึง 0.796  ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.515 ถึง 0.882 ค่าอำนาจ-จำแนกอยู่ระหว่าง 0.140 ถึง 0.370 โมเดลการวัดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi – Square = 294.69, p = 0.0805, df = 435,  GFI = 0.98, AGFI = 0.96, RMR = 0.061, RMSEA = 0.012) และ 3) โมเดลการวัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมีความไม่แปรเปลี่ยนระหว่างแผนการเรียน

The purposes of this research were 1) to develop the scientific mind scale of upper secondary school students, 2) to check the quality of the scientific mind scale of upper secondary school students. 3) to analyze invariance measurement model across program. The sample used in this research were 935 upper secondary school students. The research instruments were the scientific mind scale of upper secondary school students, situation test form Data were analyzed by content validity, item discriminating power, reliability and difficulty index by Computer program and the construct validities were confirmed using LISREL program.

The research finding were: 1) The scientific mind scale was a situation test form. 2) The quality of scientific mind scale of upper secondary school students found that the developed scale had a content validity as measured by IOC index 0.6 to 1.0. The reliability of scientific mind scale of upper secondary school students was 0.912. The reliability of 10 sub–tests ranged from 0.606 to 0.796.  Difficulty index ranged from 0.515 to 0.882 and discrimination range from 0.140 to 0.370. The measurement model is consistency fitted to the empirical data (Chi – Square = 294.69, p = 0.0805, df = 435,  GFI = 0.98,     AGFI = 0.96, RMR = 0.061, RMSEA = 0.012). 3) The factor form invariance between program.

Downloads

How to Cite

มีใหม่ ส., & เรืองตระกูล ร. (2015). การพัฒนาแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย: การวิเคราะห์ ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดระหว่างแผนการเรียน. An Online Journal of Education, 10(4), 345–356. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/35630