การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นพลโลกของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา

Authors

  • ปาจรีย์ รัตนานุสนธิ์
  • วรรณี แกมเกตุ

Keywords:

ตัวบ่งชี้, คุณลักษณะความเป็นพลโลก, NDICATORS, GLOBAL CITIZEN CHARACTERISTICS

Abstract

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นพลโลกของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นพลโลกของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นพลโลกของนักเรียนระหว่างระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษา  400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติเชิงอ้างอิง ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นพลโลกของนักเรียนระดับมัธยมศึกษามีทั้งหมด 4 องค์ประกอบ 12 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบด้านการประพฤติตน (3 ตัวบ่งชี้) คือ ความรับผิดชอบต่อตนเอง, คิดอย่างมีวิจารณญาณ, การปรับตัวตามความหลากหลายทางวัฒนธรรม องค์ประกอบด้านการปฏิสัมพันธ์ในสังคม (3 ตัวบ่งชี้) คือ ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น, ยอมรับแนวคิดที่แตกต่างทางการเมือง, เคารพสิทธิเสรีภาพ องค์ประกอบด้านการลงมือปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ (3 ตัวบ่งชี้) คือ ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์, ส่งเสริมสันติภาพและความเท่าเทียมกัน, การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับต่างๆ องค์ประกอบด้านการตระหนักถึงสถานการณ์ของทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และสาธารณสุข (3 ตัวบ่งชี้) คือ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน, ตระหนักและมีส่วนร่วมในปัญหาของสิ่งแวดล้อม, ตระหนักถึงความสำคัญในสาธารณสุขพื้นฐาน  2) โมเดลตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นพลโลกของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์  3) เมื่อนำโมเดลตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นพลโลกของนักเรียนมัธยมศึกษาไปใช้วัดกลุ่มนักเรียนระหว่างมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่ามีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดล แต่มีความแปรเปลี่ยนของค่าน้ำหนักของตัวบ่งชี้ในแต่ละองค์ประกอบ และค่าน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบหลักหมายความว่าโมเดลสามารถวัดความเป็นพลโลกได้ทั้งสองระดับ แต่ว่าแต่ละปัจจัยจะมีความสำคัญต่างกัน

   The purposes of this research were 1) to develop global citizen characteristics indicators of secondary school students, 2) to validate model global citizen characteristics indicators of secondary school students 3) to test the invariance of the model of global citizen characteristics indicators of secondary school students between lower secondary school and upper secondary school. The participants of this research were 400 secondary school students. The research tools were in-depth interviews, questionnaires, data analysis, descriptive statistic and reference statistic. Data was analyzed using descriptive statistics and inferential statistics. The research results were as follows 1) There were totally 4 factors 12 indicators of global citizen characteristics indicators of secondary school students which are self-discipline (responsibility, critical thinking, cross-cultural understanding), social interaction  (collaboration, embrace political difference), compliance roles (liberty and rights peace and equality, civic participation), aware of the situation of environmental resources and public health (awareness of sustainable development, environmental awareness, public health awareness) 2) The model of the global citizen characteristics indicators for secondary school students was found that the model fit the empirical data. 3) The model of global citizen characteristics indicators for secondary school students indicated an invariance of model form across those two grade levels. However, the model indicated variance of the factor loading of each of the indicators and factor loading of self-discipline, social interaction, compliance roles, and aware of the situation of environmental resources and public health.

Downloads

How to Cite

รัตนานุสนธิ์ ป., & แกมเกตุ ว. (2014). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะความเป็นพลโลกของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา. An Online Journal of Education, 9(2), 686–698. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/37276