การวิเคราะห์ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อลักษณะการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์โดยประยุกต์ใช้โมเดลคาโน

Authors

  • แพรวกมล ชาปะวัง
  • วรรณี แกมเกตุ

Keywords:

ความพึงพอใจ, อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์, โมเดลคาโน, SATISFACTION, ADVISORS, KANO MODEL

Abstract

   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อวิเคราะห์ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาต่อลักษณะการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์จำแนกตามประเภทของสาขาวิชา และ 2.เพื่อวิเคราะห์ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาต่อลักษณะการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์จำแนกตามประเภทของหลักสูตร โดยประยุกต์ใช้โมเดลคาโน ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประชากรในการวิจัยคือนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่อยู่ระหว่างการทำวิทยานิพนธ์หรือผ่านการทำวิทยานิพนธ์เรียบร้อยแล้ว เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามในรูปแบบโมเดลคาโน ซึ่งประกอบด้วยข้อคำถามแบบ function และ dysfunction (เชิงบวกและเชิงลบ) ซึ่งเป็นคำถามแบบเลือกตอบ

   ผลการวิจัยพบว่า  1. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาต่อลักษณะการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์จำแนกตามประเภทของกลุ่มสาขาวิชาพบว่าลักษณะการให้คำปรึกษาแบบชี้นำในขั้นตอนของการนำเสนอร่างวิทยานิพนธ์ การเก็บข้อมูลวิจัย และการสรุปผลการวิจัย และลักษณะการให้คำปรึกษาแบบสัญญาในขั้นตอนการสรุปผลการวิจัยและการสอบวิทยานิพนธ์ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 นอกนั้นไม่แตกต่างกัน 2. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาต่อลักษณะการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์จำแนกตามประเภทของหลักสูตรพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

   The objective of this research were to 1) analyze the satisfaction of students with the consultation of the advisor by type of institution. 2) to analyze the satisfaction of students with the consultation of the advisor by type. of course. By the Kano model is applied to analyze a sample of graduate students in higher education institutions. In the thesis. Tools were used. Query from the Kano model. Which consists of the function and dysfunction (positive and negative), the multiple choice questions.

    Benefits that have been recognized are: 1 Analysis of student satisfaction with the nature of the counseling advisor by type of disciplinary groups were significantly different at the .05 level of significance, Research data collection And Conclusions And nature of counseling contracts concluded in the process of research and thesis.  2) Analysis of student satisfaction with the nature of the counseling advisor by type of course , there was no significant difference at the .05 level .

Downloads

How to Cite

ชาปะวัง แ., & แกมเกตุ ว. (2014). การวิเคราะห์ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อลักษณะการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์โดยประยุกต์ใช้โมเดลคาโน. An Online Journal of Education, 9(2), 699–709. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/37279