บทบาทการส่งผ่านของความร่วมมือของครูในการศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุ

Authors

  • พจนา อาภานุรักษ์
  • สุวิมล ว่องวาณิช

Keywords:

ความร่วมมือในการปฏิบัติงานของครู, อิทธิพลส่งผ่าน, โมเดลตัวแปรส่งผ่าน, TEACHER COLLABORATION, MEDIATION EFFECT, MEDIATION MODEL

Abstract

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ระดับความร่วมมือในการปฏิบัติงานของครู  (2) พัฒนาโมเดลเชิงเหตุและผลของความร่วมมือในการปฏิบัติงานของครูที่มีต่อการเรียนรู้ของครูและการปฏิบัติงานในชั้นเรียนของครู และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของความร่วมมือในการปฏิบัติของครูที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ (3) วิเคราะห์ลักษณะการส่งผ่านอิทธิพลทางตรงของความร่วมมือในการปฏิบัติงานของครูไปยังการปฏิบัติงานในชั้นเรียนของครู และอิทธิพลทางอ้อมที่มีการส่งผ่านการเรียนรู้ของครูไปยังการปฏิบัติงานในชั้นเรียนของครู ตัวอย่างวิจัย คือ ครูระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในโรงเรียนสัดกัด สพฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 577 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรลแบบโมเดลอิทธิพลตัวแปรส่งผ่าน

   ผลการวิจัยพบว่า (1) ครูมีความร่วมมือในการปฏิบัติงานของครูอยู่ในระดับมาก โดยครูประถมศึกษามีระดับความร่วมมือในการปฏิบัติงาน ด้านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน สูงกว่าครูมัธยมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) โมเดลบทบาทการส่งผ่านของความร่วมมือของครูในการศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อการเรียนรู้และการปฏิบัติงานในชั้นเรียนของครูสอดคล้องกับกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าสถิติ ไค - สแควร์ = 39.17 df =34 p = 0.249 GFI = 0.988    AGFI = 0.977 RMSEA = 0.016 (3) ความร่วมมือในการปฏิบัติงานของครูทีอิทธิพลทางตรงต่อการเรียนรู้ของครูและการปฏิบัติงานในชั้นเรียนของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความร่วมมือมีอิทธิพลทางอ้อมที่ส่งผ่านการเรียนรู้ของครูไปยังการปฏิบัติงานในชั้นเรียนของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

   The purposes of this research were as follow (1) to analyze the collaboration level of teachers (2) to develop the causal and result model of teachers’ collaboration toward teachers’ learning and teachers’ practice and examine the goodness of fit of the model with empirical data and (3) to analyze the direct effect and indirect effect of teachers’ collaboration via teachers’ learning toward teachers’ practice. The sample consisted of 557 primary and secondary teachers in OBEC schools Bangkok. The research data were collected using questionnaire and analyze by descriptive statistics, Pearson correlation, Confirmatory Factor Analysis, and LISREL mediation model.

   The research findings were as follows (1) Teachers had high level of collaboration. Primary had significant higher collaboration level in sharing the working experience than secondary teachers at .05 level. (2) The mediation model of teachers’ collaboration toward teachers’ learning and teachers’ practice fitted to the empirical data with Chi-square = 41.89, df =34, p = 0.166,   GFI = 0.987, AGFI = 0.975, RMSEA = 0.020 (3) Teachers’ collaboration had significant direct effect on teachers’ learning and teachers’ practice at .05 level, and teachers’ collaboration had significant indirect effect on teachers’ practice via teachers’ learning at .05 level.

Downloads

How to Cite

อาภานุรักษ์ พ., & ว่องวาณิช ส. (2014). บทบาทการส่งผ่านของความร่วมมือของครูในการศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุ. An Online Journal of Education, 9(2), 710–723. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/37280