ผลของการใช้เทคนิค เอส เอ คิว ที่มีต่อทักษะการเลี้ยงลูกฟุตบอลและสมรรถภาพทางกายของนักเรียนประถมศึกษา

Authors

  • ธีรนัย มุงคุณคำชาว
  • รุ่งระวี สมะวรรธนะ

Keywords:

โปรแกรมการฝึกเอส เอ คิว, พลังกล้ามเนื้อขา, S A Q TRAINING PROGRAM, FOOTBALL DIBBLING SKILLS

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้เทคนิค เอส เอ คิว ที่มีต่อทักษะการเลี้ยงลูกฟุตบอลและสมรรถภาพทางกายของนักเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้เป็นนักกีฬาฟุตบอลระดับประถมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนบ้านโนนพะไล จำนวน 30 คน ทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน ให้กลุ่มทดลองฝึกโปรแกรมปกติเป็นเวลา 1 ชั่วโมง และฝึกโปรแกรม เอส เอ คิว เป็นเวลา 20 นาทีโดยทำการฝึก 8 สัปดาห์ๆละ 3 วัน ส่วนกลุ่มควบคุมฝึกตามโปรแกรมปกติ และวัดความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอล ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า “ที” และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวด้วยการวัดซ้ำ (One-Way Analysis of Variance WithRepeated Measures) ถ้าพบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการของแอล เอส ดี (LSD) ทดสอบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย มีดังนี้

            1).ความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอล ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ภายในกลุ่มทดลอง พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            2).ความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอล ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ภายในกลุ่มควบคุม พบว่า มีความไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            3).ความสามารถในการเลี้ยงลูกฟุตบอล หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ ของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

   The objectives of this study was to study the effect of SAO training program on football dibbling skills and physical fitness of elementary school students. Players Thirty male football players of Bannonpalai School were divided into two groups of 15 students. They were randomly assigned into experiment group and control group. The experimental group was trained with regular program of one hour then followed by 20 minutes of SAO program. The control group was trained with regular program only. Both groups were trained 3 days per weeks for 8 weeks. The football dibbling abilited of both groups were tested before after 4 weeks and after 8 weeks. The data were analized in term of means, Standard deviations, One – Way Analysis of Variance with repeated measures and multiple comparison by LSD Method.

                The results were as follows :

                1. The result of the study shows that the difference of the football dibbling ability, after 4 weeks ,and 8 weeks of the experiment within the exampling group was significant difference at the .05 Level

                2. The result of the study shows that the difference of the football dibbling ability, after 4 weeks ,and 8 weeks of the experiment within the control group was not significant difference at the .05 Level

                3. The football dibbling abilities after 4 weeks and after 8 weeks of training between the experimental group and the control group was significant difference at the .05 Level

Author Biography

ธีรนัย มุงคุณคำชาว

Downloads

How to Cite

มุงคุณคำชาว ธ., & สมะวรรธนะ ร. (2014). ผลของการใช้เทคนิค เอส เอ คิว ที่มีต่อทักษะการเลี้ยงลูกฟุตบอลและสมรรถภาพทางกายของนักเรียนประถมศึกษา. An Online Journal of Education, 9(2), 419–430. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/37350