การนำเสนอแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา

Authors

  • เรวดี ปุนนะรา
  • ผศ.ดร.สุธนะ ติงศภัทิย์

Keywords:

การเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน, สุขศึกษาและพลศึกษา, PROPOSED GUIDELINES IN ASEAN, HEALTH AND PHYSICAL

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาและเพื่อเปรียบเทียบการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของครูระหว่างครูกรุงเทพมหานครและครูต่างจังหวัด  ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามการเตรียมความพร้อมของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาในด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านเจตคติ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างเป็นครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาจำนวน 420 คน ได้รับแบบสอบถามคืนทั้งสิ้น 384 ชุด คิดเป็นร้อยละ 91.40  ผู้วิจัยนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติทั้งหมดด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที โดยทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปตารางประกอบความเรียง 

            ผลการวิจัยพบว่า 1) การเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา อยู่ในระดับมากทุกรายการ 2) การเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน  ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาครูกรุงเทพมหานครและครูต่างจังหวัดไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ควรมีความพร้อมในด้านความรู้ ได้แก่ ความสัมพันธ์ของประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนกับประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในภูมิภาค ด้านทักษะ ได้แก่ สามารถมองเห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน อันเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการปฏิบัติต่อเพื่อมนุษย์ และด้านเจตคติ ได้แก่ ความภูมิใจในความเป็นไทย ซึ่งแสดงให้เห็นความเป็นชาตินิยมของคนไทย

The purposes of this research were to study to preparedness of health and physical education teachers in secondary schools toward the integration of the ASEAN community. The questionnaire related to the preparedness of knowledge, skill, and attitude aspects was utilized for data collection. The samples were health and physical education teachers of 420 secondary schools in Bangkok and other provinces. The number of returned questionnaires was 384, or 91.40%. The statistic software computer program was applied for data analysis including percentage, mean, standard deviation, and t-test.

             The results revealed that 1) teachers were prepared for the ASEAN community at a high level of every item and 2) the level of preparedness of the secondary school teachers in Bangkok and other provinces were not significantly difference. It is recommended that health and physical education teachers in secondary schools prepare themselves in three aspects including 1) knowledge regarding the association of ASEAN countries and Thailand to promote the strength of the region, 2) skills regarding human equality which is an important value for all human beings, and 3) attitudes regarding the exaggerated pride of some Thais which can be negatively interpreted as nationalism.

Downloads

Published

2015-11-23

How to Cite

ปุนนะรา เ., & ติงศภัทิย์ ผ. (2015). การนำเสนอแนวทางการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา. An Online Journal of Education, 9(2), 753–767. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/37575