ผลของการสอนแบบเน้นงานปฏิบัติและการสังเกตความแตกต่างทางภาษาที่มีต่อความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาปริญญาตรี

Authors

  • ดวงกมล คลังทอง
  • ราเชน มีศรี

Keywords:

การสอนแบบเน้นงานปฏิบัติ/ การสังเกตความแตกต่างทางภาษา/ ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ/ การระลึกข้อมูลย้อนหลัง/ สำเนาถอดความ/TASK-BASED INSRTUCTION/ NOTICING THE GAP/ ENGLISH SPEAKING ABILITY/ STIMULATED RECALL/ TRANSCRIPTIONS

Abstract

   การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลของการสอนแบบเน้นงานปฏิบัติและการสังเกตความแตกต่างทางภาษาที่มีต่อความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ (2) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการสอนแบบเน้นงานปฏิบัติและการสังเกตความแตกต่างทางภาษาที่มีต่อความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนชั้นปี 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 สถาบันกรุงเทพคริสตศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน จำนวน 18 คน ในงานวิจัยเชิงปริมาณและ นักเรียน 6 คนจาก 18 คน ในงานวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัยที่ใช้เก็บข้อมูลได้แก่แบบทดสอบการพูดภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียน การระลึกข้อมูลย้อนหลัง สำเนาถอดความ และคำถามสัมภาษณ์  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ Wilcoxon signed rank test และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

   ผลการวิจัยพบว่า (1) คะแนนความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 คะแนนความคล่องแคล่วสูงกว่าคะแนนความถูกต้อง (2) ผู้เรียนระดับเบื้องต้นสังเกตภาษาทั้งคำเดี่ยวและประโยค ข้อผิดพลาดส่วนใหญ่ข้อผิดพลาดที่เกิดจากอิทธิพลของภาษาแม่ ในส่วนการสังเกตไวยากรณ์ที่เน้นในบทเรียน ผู้เรียนเบื้องต้นสามารถถูกฝึกให้สังเกตด้วยตัวเองได้แต่พวกเขาสังเกตจากคลาสได้มากกว่า ถึงอย่างนั้นไวยากรณ์ที่ใช้รวมประโยคและไวยากรณ์กลุ่มยังสร้างปัญหาต่อพวกเขา (3) นักเรียนรู้สึกเชิงบวกต่อการสอน ตัวอย่างเช่น พวกเขาได้เรียนรู้ด้วยวิธีใหม่ พวกเขามีความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษ เป็นต้น  อย่างไรก็ตามมีปัญหาเกี่ยวกับการสังเกตภาษาเกิดขึ้นในผู้เรียนระดับเบื้องต้น กล่าวคือ ความรู้สึกว่าไม่สามารถสังเกตคนเดียวได้ และการขาดทักษะในการแก้ไขภาษาของตนเอง

   The study aimed (1) to investigate the effects of task-based instruction and noticing the gap on students’ English speaking ability; (2) to explore students’ opinions toward the use of task-based instruction and noticing the gap on English speaking ability. The samples were 18 first-year students in semester 1, academic year 2014 at Bangkok Institute of Theology, Christian University of Thailand for quantitative research; and 6 out of the 18 students for qualitative research. The instruments to collect data were English speaking pre-/posttests, stimulated recall, transcriptions, and interview questions. Data were analyzed quantitatively using Wilcoxon signed rank test, and qualitatively using content analysis.

   The results revealed that (1) the students’ English speaking ability posttest scores were higher than pretest at a significant level (p<0.05). Fluency scores were higher than accuracy. (2) Beginners noticed single items and whole sentences. Most errors the students made were interlingual errors. Regarding the focused grammar, beginners could be trained to notice it by themselves but they noticed more from class. Yet, grammar for combining sentences and grammar clusters still caused troubles for them. (3) The students felt positive toward the instruction e.g. they experienced new way of learning, they became confident in speaking English.  However, problems regarding noticing among beginners arose i.e. the feeling of incapability to notice alone, and the lack of ability to fix their language.After the experiment, the experimental group had the narrative ability mean scores higher than that of control group at .01 level of significance.

 

Downloads

How to Cite

คลังทอง ด., & มีศรี ร. (2015). ผลของการสอนแบบเน้นงานปฏิบัติและการสังเกตความแตกต่างทางภาษาที่มีต่อความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาปริญญาตรี. An Online Journal of Education, 10(1), 536–550. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/40519