บทบาทของผู้ปกครองในการเป็นสื่อกลางเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร ROLES OF PARENTAL MEDIATION FOR PROMOTING MEDIA LITERACY OF PRESCHOOLERS IN CHILD DEVELOPMENT CENTERS IN THE BANGKOK METROPOLIS

Authors

  • ภาวิณี ฮิปส์

Keywords:

บทบาทผู้ปกครอง, การเป็นสื่อกลาง, การรู้เท่าทันสื่อ, เด็กปฐมวัย, PARENT’S ROLE, PARENTAL MEDIATION, MEDIA LITERACY, PRESCHOOLERS

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของผู้ปกครองในการเป็นสื่อกลางเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการใช้สื่อร่วมกับเด็ก ด้านการควบคุมการใช้สื่อ และด้านการส่งเสริมความรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองเด็กวัยอนุบาลในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานครจำนวน 143 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมการวิเคราะห์ทางสถิติ แจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัย พบว่า บทบาทของผู้ปกครองในการเป็นสื่อกลางเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานครโดยรวมอยู่ในระดับมาก (\widetilde{X}= 3.68) โดยมีรายละเอียดในแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านการใช้สื่อร่วมกับเด็ก ผู้ปกครองปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง (\widetilde{X}= 3.23) ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การแสดงอารมณ์ร่วมกับเด็กขณะใช้สื่อ และประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การรับชมรายการเดิมแม้เด็กเข้ามาร่วมใช้ด้วย ด้านการควบคุมการใช้สื่อ ผู้ปกครองปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (\widetilde{X}= 3.80) ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ เลือกสื่อที่มีเนื้อหาเหมาะสมให้เด็ก และประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือการกำหนดระยะเวลาของเด็กในการใช้สื่อ และด้านการส่งเสริมความรู้ ผู้ปกครองปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (\widetilde{X}= 3.87) ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การชี้แจงตัวอย่างเหตุการณ์หรือพฤติกรรมไม่ดีในสื่อ และประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การอธิบายแหล่งที่มาของสื่อ

The purpose of this research was to study the roles of parental mediation for promoting the media literacy of preschoolers in child development centers in the metropolitan area of Bangkok. Three aspects, including co-viewing mediation, restrictive mediation and active mediation, were explored. The research sample was 143 parents of preschoolers. The research instrument was a questionnaire form. The data was analyzed using frequency, percentage, means and standard deviation.

            The research results found that the parents’ overall role in promoting media literacy for preschoolers was at a high level (\widetilde{X}= 3.68). Each aspect was described as follows: co-viewing mediation was at a moderate level (\widetilde{X}= 3.23), including expressing emotion while using media, which was the highest mean score; continuing using media after children join in was the lowest mean score. Restrictive mediation was at a high level (\widetilde{X}= 3.80), including selecting appropriate media content, which was the highest mean score; restricting time of media usage was the lowest mean score. Lastly, active mediation was also at a high level (\widetilde{X}= 3.87), including explaining inappropriate manners or actions in the media, which was the highest mean score; describing the sources of media was the lowest mean score.

Author Biography

ภาวิณี ฮิปส์

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอนคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    

Downloads

Published

2017-04-08

How to Cite

ฮิปส์ ภ. (2017). บทบาทของผู้ปกครองในการเป็นสื่อกลางเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร ROLES OF PARENTAL MEDIATION FOR PROMOTING MEDIA LITERACY OF PRESCHOOLERS IN CHILD DEVELOPMENT CENTERS IN THE BANGKOK METROPOLIS. An Online Journal of Education, 11(1), 18–29. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/82490