ความคาดหวังของครูต่อความพร้อมในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน TEACHER’S EXPECTATIONS REGARDING THE SCHOOL READINESS OF FIRST GRADE STUDENTS IN SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISS

Authors

  • มนพรภัสช์ สองแคว

Keywords:

ความคาดหวังของครู, ความพร้อมในการเรียน, เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, TEACHER’S EXPECTATIONS, SCHOOL READINESS, FIRST GRADE STUDENTS

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังของครูต่อความพร้อมในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ใน 5 ด้านได้แก่ ด้านพัฒนาการทางร่างกายและสุขภาวะที่ดี ด้านพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม ด้านวิธีการเรียนรู้ ด้านพัฒนาการทางภาษาและการรู้หนังสือ และด้านพัฒนาการด้านสติปัญญาและความรู้ทั่วไป ประชากร คือ ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 98 คน ในโรงเรียนสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

      การวิจัยพบว่า ความคาดหวังของครูต่อความพร้อมในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับมาก (\widetilde{X} = 4.22) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน ตามลำดับความคาดหวังของครูจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านพัฒนาการทางร่างกายและสุขภาวะที่ดี มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (\widetilde{X}= 4.28) รองลงมาคือ ด้านพัฒนาการด้านสติปัญญาและความรู้ทั่วไป (\widetilde{X}= 4.26)  ด้านพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม (\widetilde{X}= 4.23) ด้านพัฒนาการทางภาษาและการรู้หนังสือ (\widetilde{X}= 4.18)  และ ด้านวิธีการเรียนรู้ (\widetilde{X}= 4.15) ตามลำดับ

The purpose of this research was to study the teacher’s expectations regarding the school readiness of first grade students according to five aspects: physical well-being and motor development, social and emotional development, approaches toward learning, language development and cognition and general knowledge. The population comprised 98 first grade teachers from schools under the Office of the Basic Education Commission in Bangkok. This research used the questionnaire survey method. The statistics used for analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation.

The results of this research showed that teacher’s expectations regarding school readiness were at a high level (\widetilde{X}= 4.22). When considering each aspect, it was found that physical well-being and motor development was at the highest level (\widetilde{X}= 4.28), followed by cognition development and general knowledge (\widetilde{X}= 4.26), social and emotional development (\widetilde{X}= 4.23), language development (\widetilde{X}= 4.18) and approaches toward learning (\widetilde{X}= 4.15), respectively.

Author Biography

มนพรภัสช์ สองแคว

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-04-08

How to Cite

สองแคว ม. (2017). ความคาดหวังของครูต่อความพร้อมในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน TEACHER’S EXPECTATIONS REGARDING THE SCHOOL READINESS OF FIRST GRADE STUDENTS IN SCHOOLS UNDER THE OFFICE OF THE BASIC EDUCATION COMMISS. An Online Journal of Education, 11(1), 95–112. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/82496