ผลการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการร่วมสร้างดนตรีที่มีต่อพฤติกรรมเสริมสร้างสังคมของเด็กอนุบาล EFFECTS OF USING CO-CONSTRUCTING MUSIC PROCESS ON PROSOCIAL BEHAVIORS OF KINDERGARTENERS

Authors

  • สุธาทิพย์ แสงสาย

Keywords:

กระบวนการการร่วมสร้างดนตรี, พฤติกรรมเสริมสร้างสังคม, เด็กอนุบาล, CO-CONSTUCTING MUSIC PROCESS, PROSOCIAL BEHAVIORS, KINDERGARTENERS

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการร่วมสร้างดนตรีที่มีต่อพฤติกรรมเสริมสร้างสังคมของเด็กอนุบาล แบบแผนของการวิจัยเป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ศึกษาหนึ่งกลุ่ม วิเคราะห์ผลแบบวัดซ้ำหลายครั้งแบบอนุกรมเวลา กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ห้อง 1  โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดโบสถ์) ในพระราชูปถัมภ์ฯ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 21 คน ที่กำลังศึกษาในภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2558 ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยรวม 9 สัปดาห์ ผู้วิจัยพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการร่วมสร้างดนตรี จำนวน 30 แผน ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 สร้างเสียงสร้างสรรค์บทเพลง ขั้นที่ 2 เคลื่อนไหวประกอบเพลงและบรรเลงดนตรี ขั้นที่ 3 แสดงบนเวที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินพฤติกรรมเสริมสร้างสังคมของเด็กอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา

              ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มเป้าหมายมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมเสริมสร้างสังคมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

The purpose of this action research was to study the effect of using the co–constructing music process on prosocial behaviors of kindergarteners. The research design was a one group pretest-posttest time series design. The target group was 21 second-level kindergarteners from Dipangkorn Wittayapat school under the Primary Education Service Area Office of Bangkok studying in the second semester of academic year 2015. The duration of the study was 9 weeks. The researcher developed 30 co–constructing music process activity plans which were divided into 3 steps; step 1 was vocal exploration and creating songs, step 2 was movement and playing instrument and step 3 was the staging show. The research instrument was the preschool behavioral observation form. The data were statistically analyzed by using arithmetic mean, standard deviation, t-test, and content analysis.

After the experiment, the target group had higher a prosocial behaviors score than before the experiment at a .01 significant level.

Author Biography

สุธาทิพย์ แสงสาย

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-04-08

How to Cite

แสงสาย ส. (2017). ผลการจัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการร่วมสร้างดนตรีที่มีต่อพฤติกรรมเสริมสร้างสังคมของเด็กอนุบาล EFFECTS OF USING CO-CONSTRUCTING MUSIC PROCESS ON PROSOCIAL BEHAVIORS OF KINDERGARTENERS. An Online Journal of Education, 11(1), 142–156. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/82501