ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อความพร้อมทางการเรียนของเด็กอนุบาลในโรงเรียนประกายรุ้ง OPINIONS OF PARENTS REGARDING THE SCHOOL READINESS OF KINDERGARTENERS IN PRAKAIRUNG SCHOOL
Keywords:
ผู้ปกครอง, ความพร้อมทางการเรียน, เด็กอนุบาล, PARENT, SCHOOL READINESS, KINDERGARTENERAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อความพร้อมทางการเรียนของเด็กอนุบาลในโรงเรียนประกายรุ้ง ใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาวะทางกายและการเคลื่อนไหว ด้านพัฒนาการทางสังคมและอารมณ์ ด้านวิธีการเรียนรู้ ด้านพัฒนาการทางภาษาและการรู้หนังสือขั้นต้น และด้านพัฒนาการทางสติปัญญาและความรู้ทั่วไป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคปลาย ปีการศึกษา 2558 จำนวน 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองมีความคิดเห็นต่อความพร้อมทางการเรียนของเด็กอนุบาลทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก (=4.08) โดยด้านสุขภาวะทางกายและการเคลื่อนไหวมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (=4.42) รองลงมา คือ ด้านพัฒนาการทางสังคมและอารมณ์ (=4.07) ด้านพัฒนาการทางสติปัญญาและความรู้ทั่วไป (=4.07) ด้านพัฒนาการทางภาษาและการรู้หนังสือขั้นต้น (=3.94) และด้านวิธีการเรียนรู้ (=3.83) ตามลำดับ
The purpose of this research was to study the opinions of parents regarding the school readiness of kindergarteners in Prakairung school in five aspects: physical well-being and motor development, social and emotional development, approaches toward learning, language development and literacy knowledge and cognition and general knowledge. The population comprised 96 parents of kindergarteners in the second semester of the 2015 academic year. The research instrument was a questionnaire. The data was analyzed and presented in terms of frequencies, percentages, means, standard deviations and content analysis.
The results of this research findings showed that parents realized all five aspects of kindergarteners regarding school readiness were at the high level. The highest score was for physical well-being and motor development, followed by social and emotional development, cognition and general knowledge, language development and literacy knowledge and approaches toward learning.