ผลของการใช้แนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ในกระบวนการละครประยุกต์เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเองของเยาวชนในสถานสงเคราะห์ EFFECTS OF USING THE EXPERIENTIAL LEARNING CONCEPT IN APPLIED THEATRE TO PROMOTE THE SELF-CONFIDENCE OF YOUTHS IN THE FOSTER HOME

Authors

  • ร่มเกล้า ช้างน้อย
  • วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา

Keywords:

ละครประยุกต์, แนวคิดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์, ความเชื่อมั่นในตนเอง, APPLIED THEATER, EXPERIENTIAL LEARNING CONCEPT, SELF-CONFIDENCE

Abstract

       การวิจัยมีจุดประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความเชื่อมั่นในตนเองของเยาวชนในสถานสงเคราะห์ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยการใช้แนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ในกระบวนการละครประยุกต์ (2) เปรียบเทียบความเชื่อมั่นในตนเองระหว่างเยาวชนในสถานสงเคราะห์ กับเยาวชนที่ไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ หลังจากการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยการใช้แนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ในกระบวนการละครประยุกต์

       การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ เยาวชนที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ บ้านตะวันใหม่ จำนวน 13 คน โดยมีการใช้แนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ในกระบวนการละครประยุกต์เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเองซึ่งจัดทั้งหมด 10 ครั้ง ครั้งละ 4 ชั่วโมง และเยาวชนที่ไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบความเชื่อมั่นในตนเองกับเยาวชนที่อยู่ในสถานสงเคราะห์จำนวน 10 คน ซึ่งทำกิจกรรมทั้งหมดในรูปแบบเดียวกันโดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวัดความเชื่อมั่นในตนเอง แบบสังเกตพฤติกรรม แผนการจัดกิจกรรมตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ในกระบวนการละครประยุกต์เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเอง และบันทึกประสบการณ์ของผู้เรียนแต่ละคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที (t-test) โดยผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการทดลองจัดกิจกรรม พบว่า หลังเข้าร่วมกิจกรรม เยาวชนที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ มีระดับความเชื่อมั่นในตนเองสูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) ผลการเปรียบเทียบระดับความเชื่อมั่นในตนเองระหว่างเยาวชนที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ และเยาวชนที่ไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ หลังเข้าร่วมกิจกรรมพบว่ามีความเชื่อมั่นในตนเองที่สูงขึ้นไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

       This research aimed to compare (1) the self-confidence of youths in the foster home before and after using the experiential learning concept in applied theatre, and (2) the self-confidence between youths in the foster home and youths outside the foster home after using the experiential learning concept in applied theatre. The research methodology was of quasi-experimental research design. The sample group was 13 youths from the BAAN TAWAN MAI foster home. The control group was 10 youths outside the foster home. The experiential learning concept in applied theatre was conducted 10 times. Each time took four hours. The research instruments that were used to collect data were a self-confidence questionnaire, interview protocol, observation notes, and self-reflection. The research instrument used to experiment was an activity plan using the experiential learning concept in applied theatre to promote self-confidence. The paired t-test, means, and standard deviation were applied to analyze the data

       The results revealed that (1) the self-confidence of youths in foster homes after joining the activities were significantly higher than before joining the activities at a significant level of .05. (2) The comparison of self-confidence between youths in the foster home and youths outside the foster home did not differ significantly at the significant level of .05.

Author Biographies

ร่มเกล้า ช้างน้อย

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-04-19

How to Cite

ช้างน้อย ร., & ปทุมเจริญวัฒนา ว. (2017). ผลของการใช้แนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ในกระบวนการละครประยุกต์เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเองของเยาวชนในสถานสงเคราะห์ EFFECTS OF USING THE EXPERIENTIAL LEARNING CONCEPT IN APPLIED THEATRE TO PROMOTE THE SELF-CONFIDENCE OF YOUTHS IN THE FOSTER HOME. An Online Journal of Education, 11(2), 75–91. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/83335