ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะการกรอขิม

ผู้แต่ง

  • พิชญาภา มานะวิริยภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ดนีญา อุทัยสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ทักษะการกรอขิม, ขิม, หยางฉิน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัจจัยที่มีผลต่อทักษะการกรอขิม ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ     โดยเน้นการสัมภาษณ์เป็นหลัก ผู้วิจัยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยแบ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญออกเป็นกลุ่มอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนขิม คือ อาจารย์นิธิ ศรีสว่าง และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนหยางฉิน คือ อาจารย์เฉิน เซินเหวย เพื่อให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับการควบคุมมือและไม้ขิมของผู้บรรเลงขณะกรอขิม ส่วนกลุ่มช่างทำไม้ขิม คือ คุณสัมพันธ์ ทรงสุวรรณกิจ ได้รับความรู้เกี่ยวกับขนาด น้ำหนัก ความยาว และความยืดหยุ่นของไม้ขิมในแบบต่าง ๆ  ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะการกรอขิมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) ปัจจัยภายใน ที่เกิดจากศักยภาพของผู้บรรเลงขิม มี 7 ประการ แบ่งออกเป็นด้านความสามารถในการควบคุมมือ 3 ประการ ได้แก่ การควบคุมน้ำหนักและจังหวะในการสลับมือทั้งสองให้สม่ำเสมอ การควบคุมระดับความสูงของมือจากพื้น และด้านความสามารถการควบคุมไม้ของผู้บรรเลงขิม 4 ประการ ได้แก่ ตำแหน่งการลงไม้บนสายขิม การลงไม้ขิมให้อยู่ตำแหน่งเดียวกันอย่างคงที่ การควบคุมการลงไม้ขิมให้สัมผัสสายขิมทั้ง 3 เส้น พร้อมกันทั้งสองมือ 2) ปัจจัยภายนอก มี 2 ประการ คือ ระยะของผู้บรรเลงที่ห่างจากขิม และการเลือกไม้ขิมให้เหมาะกับศักยภาพของผู้บรรเลง

References

โครงการส่งเสริมดนตรีไทย. (2538). เกณฑ์มาตรฐานสาขาวิชาและวิชาชีพดนตรีไทย. ประกายพรึก.

ชนก สาคริก. (2551). ครบเครื่องเรื่องขิม. มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง).

ชนก สาคริก. (2544). เคล็ดลับในการฝึกเรียนดนตรีไทย. https://www.facebook.com/pages/ category/Tutor-Teacher/ห้องสมุดครูตั๊ก-765780593452773/

ชยุดี วสวานนท์. (2530). วิธีฝึกหัดตีขิมเบื้องต้น. สำนักงานการประถมศึกษา.

ธรรมภณ จงรัมย์. (2547). หัดตีขิม. เอ็มไอเอส ซอฟท์เทค.

นิพันธ์ ธนรักษ์ และ กัลยาณี ดวงฉวี. (2545). เรียนรู้จักขิมด้วยตนเอง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภิชาต เลณะสวัสดิ์. (2548). อักษราดุริยางค์ทางขิม. โอเดียนสโตร์.

รุจาภา กลิ่นดี. (2556). กระบวนการถ่ายทอดขิม “รู้จักฟังเสียง 5 ประการ” ของมูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง). วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(2), 62-80.

Carroll, J. B. (1974). Learning theory for the classroom teacher In G. A. Jarvis (Ed.), The challenge of communication. National Textbook.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-29

How to Cite

มานะวิริยภาพ พ. ., & อุทัยสุข ด. (2021). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะการกรอขิม . วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 16(2), OJED1602028 (15 pages). สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/251739