แนวทางการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการเรียนศิลปะปฏิบัติของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต
คำสำคัญ:
ศิลปะปฏิบัติ, แนวทางการใช้, เครือข่ายสังคมออนไลน์, นิสิตนักศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เหมาะสมและส่งเสริมการเรียนศิลปะปฎิบัติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยประกอบด้วย อาจารย์ผู้สอนศิลปะปฏิบัติ จำนวน 22 คน นิสิตนักศึกษาผู้เรียนศิลปะปฏิบัติ จำนวน 360 คน จาก 8 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์แบบสัมภาษณ์และแบบสังเกตโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การนำเครือข่ายสังคมออนไลน์เข้ามาใช้ในการเรียนการสอนศิลปะปฏิบัติทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดีขึ้น ช่วยในเรื่องข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ เพิ่มช่องทางให้เด็กได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูล เกิดแนวคิดเพื่อนำมาพัฒนาตนเอง โดย 1) การเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติงาน เครือข่ายสังคมออนไลน์ 2) การแก้ปัญหาในการออกแบบและสร้างสรรค์ผลงาน 3) การสร้างอุดมคติและแรงบันดาลใจในการทำงาน 4) การแสดงผลงานเพื่อถ่ายทอดความคิดความรู้สึก 5) การพิจารณาและสังเกตผลงานอย่างละเอียด 6) การแชร์ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลงานต่าง ๆ 7) การพิจารณาผลงานของผู้อื่นเพื่อเรียนรู้เทคนิคใหม่ในแวดวงศิลปะ 8) การศึกษาศิลปะประเภทต่าง ๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน มีความเหมาะสมมากที่สุด ซึ่งอาจารย์ผู้สอนควรมีหน้าที่สำคัญในการแนะนำนิสิตนักศึกษาในการค้นคว้า คัดกรองข้อมูล และการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ในแบบที่เหมาะสม
References
เกศริน แสงจันทร์เรือง. (2554). การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ทางสังคม (กรณีศึกษา: การใช้ facebook.com ของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เจมส์ เบลลันกา และ รอนแบรนต์. (2556). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 2). โอเพ่นเวิลด์ส.
ชลูด นิ่มเสมอ. (2529). องค์ประกอบของศิลปะ. เดียนสโตร์.
แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2554-2556. (2556). สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32036&Key=news20
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2525). ปรัชญาแห่งจุดมุ่งหมายของการอุดมศึกษา. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2556). การศึกษาไทย 4.0: การศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ. วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่21: ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ยืน ภู่วรวรรณ และ สมชาย นำประเสริฐชัย. (2546). ไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย. ซีเอ็ดยูเคชั่น.
วิทยากร เชียงกูล. (2542). รายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2541 : วิกฤติและโอกาสในการปฎิรูปการศึกษา และสังคมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). อมรินพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สุมาลี ชัยเจริญ. (2545). แนวโน้มของการวิจัยสื่อทางปัญญา. ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เอกชัย พุทธสอน. (2557). แนวโน้มการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาผู้ใหญ่. OJED, 9 (4), 93-106.
Ajjan, H. & Hartshorne, R. (2008). Investigating faculty decisions to adopt Web 2.0 technologies: theory and empirical tests. The Internet and Higher Education, 11(2), 179-211.
Bellanca, J. & Brandt, R. (2010). 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. Solution Tree Press.
Dobbs, S. M. (1998). Learning in and through art: A guide to discipline-base art education. Getty Education Institute for the Arts.
Gregory, D. (2009). Box with fires: Wisely integrating learning technologies into the Art Classroom. Art Education, 62(3), 47-54.
Hetland, L. et al. (2007) Studio thinking: The real benefits of visual arts education. Teachers College Press.
Kaplan, A.M. and Haenlein, M. (2010). Users of the world, unite! The challenges and opportunities of Social Media. Business Horizons. 53, 59-68.
Mason, R. (2006). Learning technologies for adult continuing education. Studies in Continuing Education, 28(2), 121-133.
Read, H. (1984). The Meaning of Art. Faber & Faber.
Bosman, L. and Zagenczyk, T. (2011). Revitalize your teaching: Creative approaches to applying social media in the classroom. Springer.
Poore, M. (2013). Using social media in the classroom. SAGE.