การเปรียบเทียบคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบสอบที่บูรณาการระหว่างตัวชี้วัดความสามารถ ในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน กับตัวชี้วัดสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีวิธีการทบทวนข้อสอบที่แตกต่างกัน

ผู้แต่ง

  • พิมพิศา สว่างศรี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • โชติกา ภาษีผล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

DOI:

https://doi.org/10.14456/ojed.2022.33

คำสำคัญ:

วิธีการทบทวนข้อสอบ, ความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน, คุณสมบัติทางจิตมิติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบสอบที่บูรณาการระหว่างตัวชี้วัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน กับตัวชี้วัดสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทีมีวิธีการทบทวนข้อสอบที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 750 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบบูรณาการระหว่างตัวชี้วัดความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน กับตัวชี้วัดสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบ่งเป็นข้อสอบชุด A ทบทวนข้อสอบด้วยตนเอง และข้อสอบชุด B ทบทวนข้อสอบร่วมกับกลุ่มคณะกรรมการ วิเคราะห์คุณสมบัติทางจิตมิติของแบบสอบตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมและตามทฤษฏีการตอบสนองข้อสอบ
ผลการวิจัยพบว่า
1) ข้อสอบที่ใช้ในโรงเรียนทั้ง 3 ขนาด มีความตรงเชิงเนื้อหา ทั้ง 2 ชุด
2) ความเที่ยงของข้อสอบในโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดใหญ่ มีค่าความเที่ยงต่ำ ทั้ง 2 ชุด แต่ข้อสอบที่ใช้ในโรงเรียนขนาดกลาง มีค่าความเที่ยงสูง ทั้ง 2 ชุด
3) การวิเคราะห์ตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมและตามทฤษฏีการตอบสนองข้อสอบ พบว่า ค่าความยากและอำนาจจำแนกของข้อสอบทั้ง 2 ชุดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

จุฑา ธรรมชาติ. (2549). การศึกษาและวิเคราะห์สภาพการใช้แบบสอบอัตนัย ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โชติกา ภาษีผล. (2555). การวัดและประเมินผลการศึกษา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณัฐภรณ์ หลาวทอง. (2548). เอกสารประกอบการสอน การวัดและประเมินผลการศึกษา [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรพิไล หาญทวีวงศา. (2529). ปัญหาการสร้างข้อสอบวัดความสามารถทางพุทธิพิสัยวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตามการรับรู้ของครูวิทยาศาสตร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2556). รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. www.dpu.ac.th/ces/download.php?filename=1392026465.pdf

พินดา วราสุนันท์. (2554). การพัฒนาศักยภาพทางการประเมินในด้านการสร้างข้อสอบของครูประถมศึกษาโดยใช้เครือข่ายมิตรวิพากษ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เยาวดี วิบูลย์ศรี. (2534). การวัดผลเบื้องต้น. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วชิราวุธวิทยาลัย. (2557). พัฒนาการสร้างข้อสอบและแนวทางการจัดทำข้อสอบ. http://www.vajiravudh.ac.th/index1.php

วิเชียร เกตุสิงห์. (2530). หลักการสร้างและวิเคราะห์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. ไทยวัฒนาพานิช.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 6). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุกัญญา คล้ายทอง. (2546). การประเมินความตรงตามเนื้อหาและความเท่าเทียมกันของเนื้อหาในแบบสอบคู่ขนานโดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุจิตรา เทียนสวัสดิ์. (2550). ดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา: ข้อพิพากษ์และข้อเสนอแนะวิธีการคำนวณ. พยาบาลสาร, 34(4), 1-9.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). กระบวนการพัฒนาข้อสอบเลือกตอบ. http://sa.ipst.ac.th/?p=715

อนันดา สัณฐิติวณิชย์. (2556). การพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบสอบที่บูรณาการระหว่างตัวชี้วัดความสามารถด้านการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน กับตัวชี้วัดการประเมินสาระการเรียนรู้: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนันต์ ศรีโสภา. (2524). การวัดและประเมินผลการศึกษา. ไทยวัฒนาพานิช.

เอมอร จังศิริพรปกรณ์. (2545). การเปรียบเทียบคุณภาพของแบบสอบเลือกตอบเมื่อตรวจด้วยวิธีการให้

คะแนนความรู้บางส่วนกับวิธีประเพณีนิยม. วารสารครุศาสตร์, 31(2), 24-40.

Gronlund, N., & Linn, R. (2009). Measurement and Evaluation in Teaching. Macmillan.

Fives, H., & DiDonato-Barnes, N. (2013). Classroom test construction: The

power of a table of specifications. Practical Assessment Research & Evaluation, 18, Article 3. https://doi.org/10.7275/cztt-7109

Izard, J. (2005). Quantitative research methods in educational planning. International Institute for Educational Planning.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-27

How to Cite

สว่างศรี พ., & ภาษีผล โ. (2022). การเปรียบเทียบคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบสอบที่บูรณาการระหว่างตัวชี้วัดความสามารถ ในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน กับตัวชี้วัดสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีวิธีการทบทวนข้อสอบที่แตกต่างกัน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 17(1), OJED1701038. https://doi.org/10.14456/ojed.2022.33