การพัฒนาชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิการทางสมองในระยะแรกเริ่ม
คำสำคัญ:
การพัฒนา, ชุดส่งเสริมพัฒนาการ, เด็กพิการทางสมองบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ พัฒนาและหาความเหมาะสมของชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิการทางสมองในระยะแรกเริ่ม ตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครองและเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี ที่มีความพิการทางสมอง คัดเลือกแบบเจาะจงจากศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 11 จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 2 ครอบครัว ขั้นตอนการสร้างและพัฒนานวัตกรรมนี้นำแนวคิดทฤษฎีของบอร์กและกอลล์มาประยุกต์ใช้ โดยกำหนดเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สร้างและพัฒนาชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิการทางสมองในระยะแรกเริ่ม ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตรวจสอบความเหมาะสมและความพึงพอใจของชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิการทางสมองในระยะแรกเริ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกการให้คำสัมภาษณ์ แบบประเมินค่าความเหมาะสม 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า การสร้างและการพัฒนาชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิการทางสมองในระยะแรกเริ่ม เกิดจากการสังเคราะห์ข้อมูล นำมาสร้างชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิการทางสมองในระยะแรกเริ่ม ประกอบด้วย เอกสารคู่มือการใช้ชุดส่งเสริมพัฒนาการ เอกสารให้ความรู้ผู้ปกครอง แผนกิจกรรมฝึกส่งเสริมพัฒนาการ สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ ป้ายภาพสาธิตการฝึกกิจกรรม ของเล่นเด็ก กระเป๋าใส่เอกสารและอุปกรณ์ และมีการตรวจสอบหาความเหมาะสมของชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิการทางสมองในระยะแรกเริ่มประกอบด้วย ความเหมาะสมของคู่มือ และชุดส่งเสริมพัฒนาการอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.80 - 4.80 ความเหมาะสมของแผนกิจกรรมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00 - 4.60 และผลความพึงพอใจของผู้ปกครองระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00 - 5.00
References
ชญานิษฐ์ อนันตวรวงศ์. (2551). ผลของโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมต่อการลดความวิตกกังวลของผู้ดูแลเด็กสมองพิการ. สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จังหวัดเชียงใหม่.
ณรรทอร พลชัย. (2556). ผลให้คำปรึกษารายบุคคลที่มีต่อความวิตกกังวลในผู้ดูแลเด็กสมองพิการ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 11). สุวีริยาสาส์น
วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย. (2553). ตำราเวชศาสตร์ฟื้นฟู (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.
อรวรรณ กีรติสิโรจน์. (2559). ระบาดวิทยาของเด็กสมองพิการในโรงเรียนการศึกษาพิเศษเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น. http://www.northern.ac.th/north_research/p/document/file_14902400430.pdf.
Baird, G., McConachie H., & Scrutton, D. (2000). Parents' perceptions of disclosure of the diagnosis of cerebral palsy. Archives of Disease in Childhood, 83(6), 475-480.
Borg, R. Water, & Gall, M. D. (1989). Educational Research (3rd ed). Longman.
National Information Center for Children and Youth with Disabilities [NICHCY]. (2010). Cerebral palsy. NICHY Disability fact sheet, 2. http://www.nichcy.org./pubs/factshe/fs2.pdf
Rosenbaum, P., Paneth, N., Leviton, A., Goldstein, M., Bax, M., Damiano, D., Dan, B. &
Jacobsson, B. (2007). A report: the definition and classification of cerebral palsy April 2006. Dev Med Child Neurol Suppl. 109, 8-14