แนวปฏิบัติของผู้ฝึกสอนว่ายน้ำตามแผนพัฒนานักกีฬาในระยะยาวเพื่อผลสัมฤทธิ์ในระดับนานาชาติ

ผู้แต่ง

  • พีระพล วิริยะประกอบ นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชา พลศึกษา คณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ภาณุ กุศลวงศ์ สาขาวิชา สุขศึกษาและพลศึกษา ภาควิชา พลศึกษา คณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ผู้ฝึกสอนว่ายน้ำ, แผนพัฒนานักกีฬาในระยะยาว, แนวปฏิบัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติของผู้ฝึกสอนว่ายน้ำไทยตามแผนพัฒนานักกีฬาในระยะยาวโดยอ้างอิงตามกลยุทธ์หลักขององค์กรส่งเสริมนักกีฬาว่ายน้ำแคนาดา  กลุ่มเป้าหมายคือผู้ฝึกสอนกีฬาว่ายน้ำที่มีประสบการณ์ในระดับนานาชาติ  ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ฝึกสอนว่ายน้ำที่มีความรู้ความเข้าใจและทัศนคติต่อแผนพัฒนานักกีฬาในระยะยาวเป็นอย่างดี  จำนวนผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมงานวิจัยมีทั้งหมด 7 ท่าน  โดยผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างในการเก็บข้อมูลผ่านการบันทึกเสียงและการจดบันทึกภาคสนาม  ซึ่งคำถามประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ (1) ด้านกายภาพ (2) ด้านเทคนิค (3) ด้านกลยุทธ์ (4) ด้านจิตใจ และ (5) ด้านวิถีชีวิต  โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยเพื่อเพื่อหาความคงที่ของข้อมูลจนเกิดสภาวะอิ่มตัวทางด้านข้อมูล (Snowball sampling technique) การตรวจสอบข้อมูลมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การจัดระเบียบข้อมูล  (2) การกำหนดรหัสข้อมูล  (3) การสร้างบทสรุปชั่วคราว และ (4) การสร้างบทสรุป  ผลการวิจัย พบว่า  (1) ด้านกายภาพ: ใช้การฝึกแบบใช้ออกซิเจนเป็นหลัก  (2) ด้านเทคนิค: การพัฒนาเทคนิคสำคัญเป็นลำดับแรกสุดในกระบวนการฝึก  (3) ด้านกลยุทธ์: ใช้ประสบการณ์ที่เก็บเกี่ยวเป็นหลักในการพัฒนา  (4) ด้านจิตใจ: ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือความสุขในการเล่นกีฬา  (5) ด้านวิถีชีวิต: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนักกีฬามากที่สุดคือระบบการศึกษาและผู้ปกครองที่มีอิทธิพลต่อนักกีฬา

References

ณกร มีคำ. (2549). แรงจูงใจในการเลือกเล่นกีฬาว่ายน้ำของนักว่ายน้ำรุ่นอายุไม่เกิน 16 ปีสังกัดสโมสรในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฐิกา เพ็งลี. (2545). ปัจจัยทางชีวิกลศาสตร์และสัดส่วนร่างกายที่มีอิทธิพลต่อสถิติการว่ายน้ำท่าวัดวาประเภทสปรินท์ในระยะ 50 เมตร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรพจน์ ไชยนอก และ ศักดิ์ชาย พิทักษ์วงศ์. (2555). การบูรณาการวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อการฝึกซ้อมและการแข่งขันในนักกีฬาว่ายน้ำ. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 13(2), 1-17.

Balyi, I., & Way, R. (2016). Canadian sport for life: Long-term athlete development 2.0. Canadian Sport Centres.

Fraser-Thomas, J., Côté, J., & Deakin, J. (2008). Examining adolescent sport dropout and prolonged engagement from a developmental perspective. Journal of Applied Sport Psychology, 20(3), 318-333. https://doi.org/10.1080/10413200802163549

Georgopoulos, N. A., Roupas, N. D., Theodoropoulou, A., Tsekouras, A., Vagenakis, A. G., & Markou, K. B. (2010). The influence of intensive physical training on growth and pubertal development in athletes. Annals of the New

York Academy of Sciences, 1205(1), 39-44. https://doi.org/10.1111/j.1749-6632.2010.05677.x

Grange, J., & Gordon, R. (2004). Sport England: Success is long term. Harold Fern House.

Jayanthi, N. A., Pinkham, C., Dugas L. R., Patrick, B., & LaBella, C. (2012). Sports specialization in young athletes: Evidence-based recommendations. Sports Health, 5(3), 251-257. https://doi.org/10.1177/1941738112464626

Jayanthi, N. A., LaBella, C. R., Fischer, D., Pasulka, J., & Dugas, L. R. (2015). Sports-specialized

intensive training and the risk of injury in young athletes: a clinical case-control study. The American Journal of

Sports Medicine, 43(4), 794-801. https://doi.org/10.1177/0363546514567298

Lovell, R. B. (1980). Adult learning. Halsted Press Wiley & Son.

McLeod, S. A. (2018). Erik Erikson's stages of psychosocial development. Simply Psychology. https://www.simplypsychology.org/Erik-Erikson.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-15

How to Cite

วิริยะประกอบ พ., & กุศลวงศ์ ภ. (2020). แนวปฏิบัติของผู้ฝึกสอนว่ายน้ำตามแผนพัฒนานักกีฬาในระยะยาวเพื่อผลสัมฤทธิ์ในระดับนานาชาติ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 15(2), OJED1502007 (11 pages). สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/240530