แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17

ผู้แต่ง

  • ภานวีย์ แสงอยู่ นักศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • วรชัย วิภูอุปรโคตร สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของครู, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะหลักของครู และเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17 ประชากรได้แก่ผู้บริหารและครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17 จำนวน 984 คน กลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสอบถามคือครู จำนวน 278 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์คือผู้บริหารและครู จำนวน 8 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมสมรรถนะหลักของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17 อยู่ในระดับมาก (M = 4.04, SD = 0.68) สมรรถนะหลักที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.53, SD = 0.57) รองลงมาคือ ด้านการบริการที่ดี อยู่ในระดับมาก (M = 4.23, SD = 0.67) และสมรรถนะหลักที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการทำงานเป็นทีม อยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.09, SD = 0.75) ต้องได้รับการพัฒนามากที่สุด แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของครู มีดังนี้ 1) ผู้บริหารสนับสนุนให้ครูร่วมมือกันทำงานเป็นทีม สร้างเครือข่ายครู ใช้วิธีการโค้ช (coaching) และระบบพี่เลี้ยง (mentoring) มีการนิเทศติดตามงานอย่างเป็นระบบ 2) ครูพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องโดยศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง เข้ารับการอบรมหรือศึกษาต่อ และร่วมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ 3) โรงเรียนส่งเสริมการพัฒนาครูด้วยการจัดอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน และสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างองค์กร

References

กัญญ์วรา ผลเจริญ. (2559). การศึกษาสมรรถนะหลักของครูโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 [งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. Burapha University Library (BUU Library). http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/56990075.pdf

ชาญชัย รัตนสุทธิ. (2552). การพัฒนาความเป็นมืออาชีพของครูด้วยกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานีเขต 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. Thai Library Integrated System (ThaiLIS).

บุรินทร์ รุจจนพันธุ์. (2556). เกณฑ์การแปลความหมาย Likert. https://www.thaiall.com/blog/tag/likert/

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาส์น.

บุญหนุน ซาเสน. (2558). การพัฒนาสมรรถนะหลักครูของผู้บริหารโรงเรียนประถม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. ข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (KRU E-Thesis). http://ethesis.kru.ac.th/files/V59_96/abstract.pdf

พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2560). การพัฒนาสมรรถนะหลักและประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สุทธิปริทัศน์, 26(100), 144-158.

สมนึก ภัททิยธนี. (2544). การวัดผลการศึกษา. ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. http://www.royalthaipolice.go.th/downloads/plan12.pdf

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17. (2561). รายงานการสังเคราะห์ผลการตรวจสอบและผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2560. http://www.sesa17.go.th/site/images/SAR%202560.pdf

สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง). กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Best, J. W. (1981). Research in education. Prentice Hall.

Huse, E. F., & Cummings, T. G. (1985). Organizational development and change. West Publishing Company. https://www.researchgate.net/publication/323445228_Organization_Development_Change_8th_Edition

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610. http://www.fsh.mi.th/km/wp-content/uploads/2014/04/resch.pdf

McClelland, D. (1973). Testing for competence rather than for intelligence. American Psychologist, 28(1), 1-14. https://www.therapiebreve.be/documents/mcclelland-1973.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-16

How to Cite

แสงอยู่ ภ., & วิภูอุปรโคตร ว. (2020). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 15(2), OJED1502013 (11 pages). สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/241391