แนวทางการส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
จิตสาธารณะ, การส่งเสริมจิตสาธารณะบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการส่งเสริมจิตสาธารณะของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร 2) เสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาและการพัฒนาการส่งเสริมจิตสาธารณะของโรงเรียนระดับประถมศึกษาที่เหมาะสม ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้อำนวยโรงเรียน จำนวน 37 คน และครูผู้สอนระดับประถมศึกษา จำนวน 222 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพและปัญหาการส่งเสริมจิตสาธารณะของโรงเรียนระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ส่วนมากมีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการบูรณาการเข้ากับรายวิชาพื้นฐาน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและกิจกรรมในวันสำคัญ แต่พบปัญหาคือ โรงเรียนไม่สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมจิตสาธารณะได้ต่อเนื่อง ขาดการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เนื่องจากข้อจำกัดด้านเวลาและด้านนโยบายการศึกษา แนวทางในการพัฒนา คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนควรตระหนักและให้ความสำคัญต่อจิตสาธารณะเป็นอย่างมากเพื่อให้เกิดการดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ครูผู้สอนควรสอดแทรกจิตสาธารณะในการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและสร้างเครือข่ายร่วมมือกับผู้ปกครอง ตลอดจนการให้ชุมชนมีส่วนร่วมและสนับสนุนการส่งเสริมการเรียนรู้ในการพัฒนาจิตสาธารณะ
References
กรรยา พรรณา. (2559). จิตสาธารณะสร้างได้ง่ายนิดเดียว. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนมุสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จีราภัสร์ ใจเย็น. (2556). การพัฒนาหลักสูตรเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านศรีบุญเรือง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง. วารสารมหาวำทยาลัยราชภัฏลำปาง, 2(1), 59-69.
จุฑาพร นาครอด. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการมีจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 [ปริญญานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_Re_Sta/Chutapon_N.pdf
ฉวีวรรณ ดำประไพ. (2555). การศึกษาเปรียบเทียบจิตสาธารณะของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ในโรงเรียนกลุ่มกรุงธนใต้ สังกัด กรุงเทพมหานครที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ต่างกัน. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 9(2), 93-100.
ฉันทนา จันทร์บรรจง, จิตราภรณ์ ใยศิลป์, และ สุภาภรณ์ กิติรัชดานนท์. (2554). ผลกระทบนโยบายรัฐบาลต่อการปลูกฝังจิตสาธารณะละความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13(2), 73-91.
ดวงจันทร์ วรคามิน, ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ และ ยศวีร์ สายฟ้า. (2559). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการการศึกษาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และการมีจิตสาธารณะเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นคนดี คนเก่งของนักเรียนไทย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. https://www.knowledgefarm.in.th/wp-content/uploads/2016/11/critical-thinking-and-civic-mindedness-on-thai-student.pdf
ทวนทอง เชาวกีรติพงศ์. (2558). รูปแบบการพัฒนาจิตสาธารณะของเยาวชนในสถานศึกษาในจังหวัดกำเเพงเพชรและตาก. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 21(3), 54-68.
พูลสวัสดิ์ วรรณลา. (2557). แนวทางการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ดเขต 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. (2560). คู่มือสำหรับพ่อแม่ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอนเด็กวัยเรียน 6-12 ปี. Amarinbabyandkids. https://www.amarinbabyandkids.com/app/uploads/2018/09/6-12.pdf
วิชาญ ไทยแท้. (2545). ร่วมปฏิรูปการเรียนรู้กับครูต้นแบบ การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การสอนแบบแบบเรียนปนเล่นและโครงงานอนุบาล. http://thesis.swu.ac.th/swuebook/h296656.pdf
วีระยุทธ พรพจน์ธนมาศ. (2558). ปัญหาการศึกษาไทย : การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 15(2), 48-55.
ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน). (2559). สถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย. นิด้าโพล. http://nidapoll.nida.ac.th/file_upload/poll/document/20160829042941.pdf
สุพจน์ ทรายแก้ว. (2546). จิตสำนึกสาธารณะการก่อรูปและกระบวนการสร้าง. วารสารเพชรราชบุรีวิทยาลงกรณ์, 4, 45-57.
Ministry of Education Singapore. (2014). Character and citizenship education (primary). https://www.moe.gov.sg/docs/default-source/document/education/syllabuses/character-citizenship-education/files/character-and-citizenship-education-(primary)-syllabus-(english).pdf