นวัตกรรมการสอนศิลปะเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกเรื่องสันติภาพสำหรับเยาวชนไทย : กรณีศึกษา สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านปากเกร็ด
คำสำคัญ:
ศิลปะ, สันติภาพ, ศิลปะสร้างสันติภาพ, การส่งเสริมจิตสำนึกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานวัตกรรมการสอนศิลปะเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกเรื่องสันติภาพสำหรับเยาวชนไทย 2) ศึกษาผลการเกิดจิตสำนึกเรื่องสันติภาพของเยาวชนไทยก่อนและหลังการใช้นวัตกรรมการสอนศิลปะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เยาวชนอายุ 16-17 ปี จำนวน 15 คน จากสถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านปากเกร็ด โดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ระยะเวลาในการทดลอง 13 คาบเรียน (คาบเรียนละ 50 นาที) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) นวัตกรรมการสอนศิลปะเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกเรื่องสันติภาพสำหรับเยาวชนไทย 2) แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียนรายบุคคล 3) แบบวัดจิตสำนึกเรื่องสันติภาพ (ก่อนเรียน – หลังเรียน) และ 4) แบบสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ดูแลเยาวชน จำนวน 2 คน และ เยาวชนผู้เรียน จำนวน 15 คน ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (M) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และสถิติเชิงสรุปอ้างอิงคือ t-test dependent และการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) นวัตกรรมการสอนศิลปะเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกเรื่องสันติภาพสำหรับเยาวชนไทย คือ แนวทางการจัดการเรียนการสอนศิลปะ จากการสังเคราะห์ทฤษฎีจิตสำนึก แนวทางการเรียนรู้ และหลักธรรม ที่ส่งเสริมเรื่องสันติภาพ ที่มีองค์ประกอบ 7 ข้อ ได้แก่ 1.การศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติงานด้วยตนเอง 2.การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม 3.การคิดวิเคราะห์เชื่อมโยง 4.การใช้เหตุผลเพื่อแก้ปัญหา 5.การแสดงความคิดเห็น 6.การรับฟังความคิดเห็น 7.การตระหนักในความเท่าเทียมและเคารพในสิทธิของกันและกัน แล้วจึงได้นำแนวทางที่ได้มาพัฒนาเป็นแผนการสอนศิลปะจำนวน 10 แผน โดยนำมาพัฒนาร่วมกับการศึกษากิจกรรมศิลปะที่ส่งเสริมสันติภาพ แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดกิจกรรมส่งเสริมเรื่องสันติภาพให้แก่เยาวชน และรวมถึงความรู้เรื่องสันติภาพ 2) เยาวชนผู้เรียนที่ได้ผ่านนวัตกรรมการสอนศิลปะเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกเรื่องสันติภาพสำหรับเยาวชนไทย มีผลการวัดจิตสำนึกเรื่องสันติภาพ หลังเรียน (M = 3.77) สูงกว่าก่อนเรียน (M = 3.29) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติงานด้วยตนเอง ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้ คิดวิเคราะห์เชื่อมโยงเป็น ใช้เหตุผลเพื่อแก้ปัญหาได้ รู้จักแสดงความคิดเห็นและรับฟัง และสามารถตระหนักในความเท่าเทียมและเคารพในสิทธิของกันและกันได้
References
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กระทรวงยุติธรรม. (2556). ประมวลสถิติด้านสังคมประจำปี 2556. http://www.m-society.go.th/ebook/uploads/doc/Socialbook4.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2541). การศึกษากับการพัฒนาคุณธรรม. สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
ชลธิชา ขันติดิลกวงษา. (2540). ผลของการสอนศิลปะตามแนวคิดแบบเซอเรียลลิสต์ที่มีต่อผลสมฤทธิ์เรื่องสันติภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในชุมชนแออัด กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16604
ชูจิตต์ วัฒนารมณ์. (2529). คุณค่าของกิจกรรมศิลปศึกษาต่อนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตมการรับรู้ของครู ศิลปศึกษาและผู้เชี่ยวชาญทางศิลปศึกษา กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23352
พรรณี ชูจิรวงศ์. (2551). อานุภาพจิตใต้สำนึก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ต้นไม้.
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และ สังคม สัญจร. (2543). สำนึกไทยที่พึงปรารถนา. โรงพิมพ์เดือนตุลา.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2551). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
Anderson, T. (2002). Mandala: Constructing Peace through art. Art Education, 55, 33-39.
Farthing, G. W. (1992). The psychology of consciousness. Prentice Hall, Inc.
Gold, D. (2006). The art of building peace: How the visual arts aid Peace-Building initiatives in Cyprus. Independent Study Project (ISP) Collection, Paper 370.
Song, Y. I. K. (2012). Educating for peace: A case study of a constructivist approach to understanding peace through artistic expression. Creative Education, 3, 79-83.
Kaneda, T and Abe, T. (2007). Art education for peace: Kids’ Guernica, International children’s peace mural project. InSEA Europe. http://www.insea.europe.ufg.ac.at/news/Kids%20Guernica.pdf
Poe, D. (2011). Communities of Peace. Rodopi.