ผลของการจัดการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดคณะกรรมการอุดมศึกษา

ผู้แต่ง

  • จักรกฤต ภุชงค์ประเวศ นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พรเทพ จันทราอุกฤษฎ์ สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม, ความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 2) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหลังเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวม 48 คน โดยมีวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้โครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน เท่ากับ .817 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และระหว่างเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และนักเรียนมีระดับความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนอยู่ในระดับสูงในทุกองค์ประกอบ

References

กฤษลดา ชูสินคุณาวุฒิ. (2557). กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมคืออะไร. วารสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 42(190), 37-40.

พรสวรรค์ วงค์ตาธรรม. (2558). การคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(2), 111-121.

มนูญ ตนะวัฒนา. (2539). ศิลปะการเสริมสร้างพลัง ความคิดสร้างสรรค์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ธีรพงษ์การพิมพ์. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. (2558). คู่มือครู การจัดการเรียนรู้แบบแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์. https://candmbsri.files.wordpress.com/2015/05/crative-problem-solving.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ. (2562). สถานการณ์และแนวโน้มวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศไทย. http://stiic.sti.or.th/sti-thailand/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2560-2579. พริกหวานกราฟฟิค.

สุกัญญา เชื้อหลุบโพธิ์. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบหมุน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 13(37), 119-132.

สุกัลยา ขำเพชร. (2543). การศึกษาสภาพและปัญหาในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดเพชรบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สุธิดา การีมี. (2560). การใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหา. วารสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 46(209), 23-27.

อภิสิทธิ์ ธงไชย. (2559). ความสำคัญของวิศวกรรมในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 31(3), 48-53.

Creative Education Foundation. (2014). Educating for Creativity Level 1 Resource Guide. http://www.creativeeducationfoundation.org/wp-content/uploads/2015/06/EFC-Level-1-FINALelectronic.pdf

Mangold, J., & Robinson, S. (2013, June). The engineering design process as a problem solving and learning tool in K-12 classrooms [Paper Presentation]. 120th ASEE Annual Conference & Exhibition, Atlanta, USA.

Organisation for Economic Co-Operation and Development (OECD). (2016), Global competency for an inclusive world. https://www.oecd.org/education/Global-competency-for-an-inclusive-world.pdf.

Science Buddies. (2019). Engineering design project guide. https://www.sciencebuddies.org/science-fair-projects/engineering-design-process-guide.

TeachEngineering. (2018). Engineering design process. https://www.teachengineering.org/k12engineering/why.

Treffinger, D. J. (2007). Creative problem solving (CPS): Powerful tools for managing change and developing talent. Gifted and Talented International, 22(2), 8-18.

Treffinger, D. J., Isaksen, S. G., & Stead-Dorval, K. B. (2010). Creative problem solving (CPS Version 6.1™) A Contemporary Framework for Managing Change. http://www.creativelearning.com/~clearning/images/freePDFs/CPSVersion61.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-28

How to Cite

ภุชงค์ประเวศ จ., & จันทราอุกฤษฎ์ พ. (2020). ผลของการจัดการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดคณะกรรมการอุดมศึกษา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 15(2), OJED1502036 (11 pages). สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/243574