ผลการจัดการเรียนรู้ตามหลักการทรงงานของรัชกาลที่ 9 และทฤษฎีพัฒนาด้านจิตพิสัยที่มีต่อเจตคติในการเรียนพลศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • ภัทรพงศ์ รัตนกาญจน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สุธนะ ติงศภัทิย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เจตคติต่อวิชาพลศึกษา, การจัดการเรียนการเรียนรู้พลศึกษาตามหลักการทรงงานของรัชกาลที่ 9 และทฤษฎีพัฒนาจิตพิสัย, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามหลักการทรงงานของรัชกาลที่ 9 และทฤษฎีพัฒนาด้านจิตพิสัยที่ส่งผลต่อเจตคติของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลของความแตกต่างด้านเจตคติของกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยประยุกต์ใช้หลักการทรงงานของศาสตร์พระราชาและทฤษฎีพัฒนาด้านจิตพิสัยกับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาแบบปกติ การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง เป็นการเลือกแบบเจาะจง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 50 คน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครที่ผู้บริหารโรงเรียนให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามหลักการทรงงานของรัชกาลที่ 9 และทฤษฎีพัฒนาด้านจิตพิสัย จำนวน 8 แผน และแบบวัดเจตคติต่อวิชาพลศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า “ที” ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนเจตคติต่อวิชาพลศึกษาหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนเจตคติต่อวิชาพลศึกษาหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

แคมปัสสตาร์. (2560, 25 กันยายน). 23 หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9. https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/39678.html

จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2549). จิตวิทยาสังคม. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัชวรรณ จูงกลาง. (2559). ผลการใช้กิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” เรื่องเพศศึกษา โดยใช้แนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัยที่มีต่อค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมกับสังคมไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐพล ศรีจาด. (2559). ผลของวิธีสืบสอบร่วมกับการเรียนรู้เป็นทีมที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางเคมี และเจตคติต่อการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์. (2552). ข้อคำนึงในการสร้างเครื่องมือประเภทมาตรประมาณค่า (Rating scale) เพื่องานวิจัย. http://www.ms.src.ku.ac.th

ทิศนา แขมมณี. (2546). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธานินทร์ บุญญาลงกรณ์. (2547). เจตคติของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีต่อวิชาพลศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภพร ทัศนัยนา. (2521). ปัญหาเจตคติและความต้องการทางด้านพลศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปาริฉัตร ทองเนื้อแข็ง. (2556). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดพัฒนาด้านจิตพิสัยที่มีต่อด้านสุขภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เมเนเจอร์ออนไลน์. (2559, 29 พฤศจิกายน). “ระเบิดจากข้างใน” หัวใจแห่งการพัฒนา ในพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ : ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล. MGR Online. https://mgronline.com/onlinesection/detail/9590000115284

เดชา ปุญญบาล. (2560). 9 ตามรอยบาท ศาสตร์พระราชา. วารสารสมาคมนักวิจัย, 22(2), 13-20.

วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2527). หลักและวิธีสอนพลศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). ไทยวัฒนาพานิช.

วรศักดิ์ เพียรชอบ และ ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์. (2560). รวมบทความเกี่ยวกับปรัชญา หลักการ วิธีสอน และการวัด เพื่อประเมินผลทางการพลศึกษา. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีราภรณ์ บุตรทองดี. (2557). การศึกษาทัศนคติต่อการทำงาน องค์กรและความจงรักภักดีของพนักงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานโรงงาน ในเขตนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศรัณย์ รื่นณรงค์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตคติต่อการเรียนวิชาพลศึกษาของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศศิธร ลิจันทร์พร. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเป็นฐานโดยใช้แอพพลิเคชั่น เพื่อการศึกษาบนอุปกรณ์ สื่อสารเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมความมีวินัยของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สยามรัฐออนไลน์. (2560, 24 กุมภาพันธ์). ศาสตร์พระราชา ...นายกประยุทธ์ ศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560. https://siamrath.co.th/n/10248

สุชาติ โสมประยูร และ เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2542). การสอนสุขศึกษา ทฤษฎีและการปฏิบัติ. เอมี่ เทรดดิ้ง.

สุรเชษฐ์ โชติวรานนท์. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีเจตคติที่ดีต่อวิชาพลศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ห้องสมุดมั่นพัฒนา. (2560, 25 กันยายน). หลักการทรงงานเรื่องแรงระเบิดจากข้างใน. http://www.manpattanalibrary.com

Brown, H. D. (2001). Teaching by principle and interactive approach to language pedagogy. Longman.

Joyce, B. R., & Weil, M. (1996). Models of teaching. Allyn and Bacon.

Loudon, D. L., & Bitta. A. J. D. (1988). Consumer behavior: Concepts and application (3rd ed.). McGraw Hill.

Schiffman, L. G., & Kanuk, L. L. (1991). Consumer behavior (4th ed.). Englewood Cliffs.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-29

How to Cite

รัตนกาญจน์ ภ. ., & ติงศภัทิย์ ส. . (2020). ผลการจัดการเรียนรู้ตามหลักการทรงงานของรัชกาลที่ 9 และทฤษฎีพัฒนาด้านจิตพิสัยที่มีต่อเจตคติในการเรียนพลศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 15(2), OJED1502041 (16 pages). สืบค้น จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/245396