ผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้กีฬาลาครอสที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะ และความมีน้ำใจนักกีฬาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
DOI:
https://doi.org/10.14456/ojed.2021.2คำสำคัญ:
สมรรถภาพทางการที่สัมพันธ์กับทักษะ, น้ำใจนักกีฬา, กีฬาลาครอสบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้กีฬาลาครอสที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะและความมีน้ำใจนักกีฬาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดย 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความมีน้ำใจนักกีฬาก่อนและหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 60 คน ได้กลุ่มตัวอย่างโดยการอาสาสมัคร แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้กีฬาลาครอส แบบวัดสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะและแบบวัดความมีน้ำใจนักกีฬา เครื่องมือการวิจัยมีค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.90 ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะก่อนการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนไม่แตกต่างกัน ขณะที่หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนความมีน้ำใจนักกีฬาก่อนการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีคะแนนไม่แตกต่างกัน ขณะที่หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
จิรกรณ์ ศิริประเสริฐ. (2543) ทักษะและเทคนิคการสอนพลศึกษาในระดับประถมศึกษา. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เจริญ กระบวนรัตน์. (2550) ตาราง 9 ช่องกับการพัฒนาสมอง. สินธนาก็อปปี้.
ดนัย ดวงภุมเมศร์. (2553) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความมีน้ำใจนักกีฬาของนักเรียนระดับประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ถนอมวงศ์ กลิ่นจันทร์หอม. (2541) การสร้างแบบทดสอบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรมด้านความมีน้ำใจนักกีฬาของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุบผา เมฆศรีทองคำ และ จรรยา สิงห์สงบ. (2552) สภาพการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตของเด็กและเยาวชนไทยตามช่วงพัฒนาการแห่งวัย (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์). ทุนอุดหนุนการวิจัยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
มัณฑรา ธรรมบุศย์. (ม.ป.ป.) จิตวิทยาสำหรับครู. https://sites.google.com/site/psychologybkf1/home/citwithya-phathnakar/thvsdi-cit-sangkhm-khxng-xi-rik-san
วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2548) รวมบทความเกี่ยวกับปรัชญา หลักการ วิธีสอน และการวัดเพื่อประเมินผลทาง พลศึกษา. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2540) การวัดและประเมินความพร้อมสำหรับเด็กอนุบาลด้านร่างกายและสังคม. การวัดผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิลเลียมส์, เจ. เอฟ. (2540). The principles of physical education [หลักการพลศึกษา]. คุรุสภาลาดพร้าว.
สมบูรณ์ อินทร์ถมยา. (2551) หลักการสอนและการฝึกกีฬาหลัก [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560) การใช้ไอซีทีของเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2560. http://www.nso.go.th/sites/2014
อภิวัฒน์ งั่วลำหิน. (2553). การจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้กิจกรรมกีฬาฟุตบอลตามแนวคิดพัฒนาจริยธรรมของโคลเบิร์ก เพื่อพัฒนาความมีน้ำใจนักกีฬาของนักเรียนประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36180
Claydon, J.. (2019, January 30). Origin of Men’s Lacrosse. http://www.filacrosse.com/fil/origin-history.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.