ผลการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ด้วยเทคนิค KWDL เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคนของเศษส่วนและจำนวนคละที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL, แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ด้วยเทคนิค KWDL ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ด้วยเทคนิค KWDL กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ห้องเรียน มี 33 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ 1. แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ด้วยเทคนิค KWDL 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 3. แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ด้วยเทคนิค KWDL ผลวิจัยพบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ด้วยเทคนิค KWDL มีประสิทธิภาพ 93.90/81.18 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของครูผู้สอนด้วยเทคนิค KWDL มีนักเรียนพึงพอใจในระดับมากขึ้นไป คิดเป็นจำนวนร้อยละ 71.33 ของจำนวนนักเรียนที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด
References
จิราภรณ์ อุปภา. (2554). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ชญาณิศา เป็งจันทร์. (2559). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี. (2561). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ Mathematics Instruction. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. แดเน็กอินเตอร์คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด.
ชิดชนก ตะโกพร. (2556). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริงโดยใช้เทคนิค KWDL เรื่อง โจทย์ปัญหาทศนิยม ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความรู้สึกเชิงจำนวนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองกรดสามัคคี จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพพร แหยมแสง. (2555). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปรารถนา พลอภิชาติ, สุวิมล ว่องวาณิช และ ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ. (2556). คู่มือปฏิบัติการครูในการประเมินสู่การเรียนการสอน ชุดโครงการวิจัย “กลยุทธ์การขับเคลื่อนนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง”. บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
พชรพล อารีชาติ และ ชวนพิศ รักษาพวก. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์หน่วยการเรียนรู้ ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้เทคนิค KWDL. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(3), 77-68.
เพลินพิศ รุจิราวรรณ. (2552). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการค้นพบเรื่องเรขาคณิตวิเคราะห์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปรางค์วิทยา จังหวัดนครราชสีมา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
มนธิชา สาโดด. (2563). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง สถิติ โดยใช้เทคนิค KWDL สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(2), 263-274.
วรนุช แหยมแสง. (2560). การวัดและประเมินผลคณิตศาสตร์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
วัชรา เล่าเรียนดี. (2554). รูปแบบและกลยุทธการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2560). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560. http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETP6_2560.pdf
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2561). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561. http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETP6_2561.pdf
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2562). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562. http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETP6_2562.pdf
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. 3-คิว มีเดีย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สิริพร ทิพย์คง. (2558). มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน ความรู้คณิตศาสตร์ที่ถูกต้อง. สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).
อัมพร ม้าคนอง. (2553). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์:การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Anderson, K. B., & Pingry, R. E. (1973). Problem Solving in mathematics: It’s Theory and Practice. The National Council of Teachers of Mathematics.
Carry, E., & Ogle, D. (1987). KWL Plus: A strategies for Comprehension and Summarization. Journal of Reading.
Krulik, S., & Rudnick J. A. (1993). Reasoning and Problem Solving: A Handbook for Elementary School Teachers. Allyn and Bacon.
Ogle, D. M. (1986). K-W-L: A teaching model that develops active reading of expository text. Reading Teacher, 39(6), 564-570.
Shaw, J.M., Chambless, M.S., Chessin, D.A., Price, V., & Beardain, G. (1997). Cooperative Problem Solving : Using KWDL as an Organizational Technique. Teaching Children Mathematics. Dissertation Abstracts International.
Slavin, R. E. (1990). Cooperative Learning: Theory, Research, and Practice. Englewood Cliff, N. J.: Prentice-Hall.