ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ ที่มีต่อทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันของเยาวชน
คำสำคัญ:
การเรียนรู้เชิงสถานการณ์, ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน, กิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน, เยาวชนบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ ที่มีต่อทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันของเยาวชน 2) เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ ที่มีต่อทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันของเยาวชน โดยใช้การวิจัยกึ่งทดลองแบบมีกลุ่มเดียวทดสอบก่อน-หลัง ใช้การสุ่มอย่างง่าย ในการคัดเลือกกลุ่มทดลอง คือ เยาวชนอายุตั้งแต่ 15-18 ปี จำนวน 30 คน การจัดกิจกรรมใช้เวลา 7 วัน รวมทั้งสิ้น 60 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบวัดระดับทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันและแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยค่าสถิติทดสอบที (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญ ทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์ที่มีต่อทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันของเยาวชนที่เหมาะสม มีองค์ประกอบ 4 ด้าน คือ (1) ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน (2) เนื้อหาสอดคล้องกับการสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน (3) เน้นการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์ปัญหาที่เสมือน / ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริง และ (4) เน้นการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง 2) กลุ่มเยาวชนที่เข้ารับการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยของทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการศึกษาความพึงพอใจหลังการจัดกิจกรรม พบว่า กลุ่มเยาวชนที่เข้ารับการอบรมมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม อยู่ในระดับมาก (M = 4.45)
References
กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการจัดการสาระการเรียนรูกลุ่มสาระการเรียนรู ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กาญจนา จงอุตส่าห์. (2531). ระดับความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กฤษณา เมืองโคตร. (2553). การพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต].มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. Thai Digital Collection. http://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2553/edel0453km_abs.pdf
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2531). การวิจัยและประเมินประสิทธิภาพทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล. สามเจริญพานิช.
เพลินตา พรหมบัวศรี. (2545). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อเสริมสร้างความสามารถทางวิชาชีพการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/277
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2555). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอาเซียน. https://www.kasikornresearch.com /th/KEconAnalysis/Pages/ViewSummary.aspx?docid=29785
สุมาลี สังข์ศรี. (2545). การจัดการศึกษานอกระบบด้วยวิธีการศึกษาทางไกลเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุนิดา ศิริพากย์. (2553). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษตามทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของเมคเคลแลนด์และการเสริมสร้างอัตมโนทัศน์ตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาการศึกษานอกระบบ กลุ่มด้อยสัมฤทธิ์ที่เรียนด้วยวิธีทางไกล [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28806
อาชัญญา รัตนอุบล, รัตนา พุ่มไพศาล, เกียรติวรรณ อมาตยกุล, อรพินท์ วิบูลย์พันธุ์, วีระเทพ ปทุมเจริญ, วัฒนา, มนัสวาสน์ โกวิทยา, วรรัตน์ อภินันท์กูล, ณัฏฐลักษณ์ ศรีมีชัย, และ สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2542). แนวโน้มการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนของประเทศไทยในทศวรรษหน้า. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8478
อุ่นตา นพคุณ. (2527). การเรียนการสอนผู้ใหญ่เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงสยามการพิมพ์.
Brown, J. S., Collins, A., & Duguid, P. (1989). Situated cognition and the culture of learning. Educational Research, 18(1). 32-42. https://doi.org/10.3102/0013189X018001032
Lave, J. & Wenger, E. (1991). Situated learning: Legitimate peripheral participation. Cambridge University.
Loring, R. (1998). Situated learning: Understanding contextual learning. National tech prep network.
McLellan, H. (1994). Virtual environments and situated learning. Multimedia Review, 2(3). 30-37.
Resnick, L. B. (1987). Learning in school and out. Educational Researcher, 16(9). 13-20, 54. https://doi.org/10.2307/1175725